โภคิน พลกุล'แก้ รธน.50กลบ'หลุมดำ'การเมือง

แสดงความคิดเห็น

โดย : ประพันธ์ จินดาเลิศอุดมดี,สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์

ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 เป็น “ผลที่มาจากต้นไม้พิษ ย่อมต้องเป็นพิษ” จึงต้องกำจัด แต่ฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามกลับมองว่า เพื่อไทยกำลังทำเพื่อตัวเอง การแก้รัฐธรรมนูญปี 50 จึงเป็นอีกสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคม

โภคิน พลกุล มือกฎหมายจากพรรคเพื่อไทย เห็นว่า รัฐบาลต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจกับสังคมเพื่อให้ “หลุมดำ” การเมืองตื้นขึ้น

"ผมชื่นชมนายกฯ ท่านอดทน ไม่ก้าวร้าว ไม่โต้ตอบ เราหยุดตรงนี้เสียก่อน ผมว่าสิ่งนี้ถูกต้อง" โภคิน เอ่ยถึงผู้นำรัฐบาล

ปัจจุบันโภคินเป็น ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในมือกฎหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเขาเป็นอดีตรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง

โภคิน พูดถึงเรื่องระยะเวลาที่จะได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า "อย่าไปกำหนดล่วงหน้า เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาเยอะ เอาเป็นว่าคณะทำงานจะเร่งรัดทำให้ดีที่สุด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจอย่างไรก็ว่ากันไป แต่พวกเราต้องทำให้เสร็จก่อน แต่ไม่ใช่ว่าไปตัดสินใจให้เขา ถือเป็นการนำเสนอทางเลือกที่ดี แต่ที่แน่ๆ ให้ฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยได้เข้าใจ"

"ถ้ารัฐบาลได้รับข้อเสนอต่างๆ แล้วเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม ความเข้าใจต่างๆ ยังไม่ชัดเจน หากทำไปอาจเกิดปัญหา ก็รอดูเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผมคิดว่าคนคงไม่ว่า แต่หากโหวตแล้วคนไม่เอา เรื่องจะยุ่ง เราหลงทางไปเยอะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่รู้อะไรคือหลักหรือไม่ใช่หลัก อะไรคือถูกจริงหรือไม่ถูกจริง วันนี้ต้องกลับมาใหม่ ลดอารมณ์ความเกลียดชังต่างๆ ลงไป"

"วันนี้ไม่ใช่เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ปัญหานายสนธิ (ลิ้มทองกุล) แต่เป็นปัญหาที่สังคมตกหลุมดำ การใช้อารมณ์ทำให้หลุมดำขยายไปทุกวัน เราต้องหยุดแล้วถอย ไม่ใช้อารมณ์มาพูดกัน ต้องก้าวข้ามหลุมดำนี้"

"วันนี้ผมว่ารัฐบาลทำดีแล้ว แม้รัฐบาลถูกก็ไม่ดึงดัน ใช้เวลาหน่อย แม้จะเสียเปรียบเพราะมรดกของรัฐประหารที่พร้อมจะทำลายมีอีกเยอะ ไม่มีรัฐบาลไหนที่เดินและแก้ปัญหาให้ชาวบ้านยากขนาดนี้ แก้ปัญหาบ้านเมืองก็ยาก แล้วยังต้องระวังตัวด้วย เมื่อคนใช้อารมณ์มากๆ เราใช้อารมณ์ตามไม่ได้ แม้จะเจ็บ รู้สึกว่าบริหารคนไม่ได้ผล แต่ต้องอดทนและทำความเข้าใจ"

"ในความเห็นผม รัฐบาลแม้จะเจ็บปวด จะกัดฟันเท่าไหร่ก็ต้องทน เป็นวิธีเดียวเท่านั้น เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้หลุมดำก็จะตื้นขึ้น เราจะก้าวข้ามไปทันทีไม่ได้ แต่ทำให้หลุมมันตื้นขึ้นจนไม่มีหลุมได้ ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่นั้น ผมก็ตอบไม่ได้"

โภคิน พูดถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคาอยู่ในสภาเพื่อรอลงมติวาระ 3 ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องมีการโหวตวาระ 3 ส่วนจะโหวตให้ผ่านหรือโหวตให้ตก ก็ต้องดูสถานการณ์

ต่อข้อถามถึงการแก้ไขเนื้อหารัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะแก้มาตรา 68 เพื่อป้องกันไม่ให้มีการร้องศาลรัฐธรรมนูญก่อนโหวตวาระ 3 หรือไม่นั้น เขาบอกว่า ถึงตอนนี้มี 2 แนวคิด

"ส่วนหนึ่งบอกถ้าอะไรที่จำเป็นต้องแก้เพื่อให้เกิดความบาลานซ์ (สมดุล) ของ 3 อำนาจก็ควรต้องแก้ แต่อีกส่วนบอกว่าต้องระวัง เพราะอาจเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าแก้เพื่อตัวเอง หากจะมีการแก้รายมาตรา ก็จะถูกใส่ร้ายว่าทำเพื่อตัวเอง เราจึงต้องให้ ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) เป็นคนทำ"

โภคิน ย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องแก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม

“โดยเฉพาะมาตรา 309 ไปรับรองประกาศของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นหมายความว่ากฎหมายอื่นๆ แม้แต่ประกาศ พระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นกฎหมายของพระมหากษัตริย์ยังขัดรัฐธรรมนูญได้ กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาแล้วพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่กฎหมายของคณะรัฐประหารขัดไม่ได้เลย เพราะรัฐธรรมนูญบอกเองให้ชอบหมด แบบนี้ทำไมเราทนอยู่ได้ ผมไม่เข้าใจ”

“กฎหมายของคณะรัฐประหารใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีค่าเท่ากับรัฐธรรมนูญ อันนี้คิดว่าแย่แล้ว แต่ที่ไปบอกว่าผู้ปฏิบัติตามคำสั่งให้ถือว่าชอบระดับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน อันนี้ยิ่งแย่ใหญ่ เช่น ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) บอกว่าต้องทำหน้าที่โดยเที่ยงธรรม หากไม่เที่ยงธรรมคุณถูกลงโทษทางอาญา สมมติว่าเขาปฏิบัติหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง คปค.(คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ผลคือใครทำอะไรไม่ได้ เพราะถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมถึงไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ได้อย่างไร”

“ทั้งโลกที่เขาพูดเรื่องต้นไม้พิษ ผลไม้พิษ เป็นคำวินิจฉัยของศาลสูงสหรัฐ เขาบอกว่าหากคุณเริ่มต้นไม่ถูก ท้ายมันต้องไม่ถูกด้วย พอบอกว่าจะแก้มาตรา 309 ก็หาว่าทำเพื่อตัวเอง ผมยังมองไม่ออกว่ามาตรา 309 มันไปเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ตรงไหน มันไม่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มันเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ยึดอำนาจ”

เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ จำเป็นต้องยกเลิกมาตรา 309 ก่อนหรือไม่ โภคิน บอกว่า จะนิรโทษกรรมใครสามารถออกกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามาตรา 309 ยังอยู่ แปลว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญตลอดไป การปฏิบัติขององค์กรหรือบุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คปค. เป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้คุณจะแกล้งหรือรังแกอย่างไรก็ชอบหมด

เมื่อซักอีกว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ จะมีผลให้ยกเลิกคดีความต่างๆ รวมทั้งคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเข้าสู่กระบวนการที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเห็นว่าเป็นไปตามหลักนิติธรรม รายละเอียดขั้นตอนคืออย่างไร ใครจะเป็นเจ้าภาพเริ่มต้น เพราะฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จริงๆ ประเด็นนี้ โภคิน ตอบว่า เขาไม่สามารถบอกได้ ต้องขึ้นอยู่กับสภาที่จะต้องไปหารือกัน แต่ก็ต้องได้ข้อสรุปก่อนว่าสิ่งที่ทำมาไม่ถูกต้อง แล้วก็ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ตามกระบวนการปกติ

โภคิน ยังแสดงท่าทีให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้รัฐธรรมนูญกำหนดให้เพิ่มชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

"เราเอาศาลฎีกาแผนกคดีอาญามาจากฝรั่งเศส ซึ่งเดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสเขาถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเพราะมีศาลเดียว แต่ของเขาอำนาจจำกัดที่การทรยศต่อชาติเป็นหลัก แต่ของเรากวาดเรียบ แม้แต่คนที่ไม่ใช่นักการเมือง เป็นผู้สนับสนุนก็โดนหมด ขึ้นศาลเดียวหมด ระบบนี้จริงๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีใครเข้าใจ มองว่าคอร์รัปชันต้องกำจัด แต่ไม่ได้ดูว่าถ้าเอาไปแกล้งกันแล้วจะเป็นอย่างไร หลักสิทธิมนุษยชนต้องมี 2 ชั้นศาล คนต้องมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลา"

อนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ต้องการให้สามารถดำเนินคดีอาญากับนักการเมืองได้อย่างเห็นผล รวดเร็ว จึงให้มีเพียงศาลเดียว ซึ่งศาลนี้เป็นศาลที่พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก จนทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหนีออกนอกประเทศ (ก่อนมีคำพิพากษา) และยังไม่ยอมเดินทางกลับประเทศไทย

โภคิน เห็นว่า ในระบบการเมืองไทยยังควรมี "องค์กรอิสระ" ต่อไป แต่ต้องแก้ไขเรื่องที่มาและอำนาจ โดยในส่วนที่มานั้น ไม่ควรให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมากเหมือนในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะยิ่งศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมาก สถาบันศาลก็จะได้รับผลกระทบมาก ภาพพจน์ศาลระยะหลังเสียหายไปเยอะ

เขาพูดถึงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า หลายเรื่องตัดสินได้ดี อะไรที่ไม่ใช่ประเด็นที่เป็นเรื่องอารมณ์ของคน 2 กลุ่ม ศาลทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี แต่พอเป็นประเด็นของคน 2 สีเมื่อไหร่ ศาลก็จะแกว่ง

สำหรับข่าวลือว่าเขาถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 เพื่อดูแลงานด้านกฎหมายให้กับรัฐบาลนั้น โภคิน บอกว่า "ไม่ใช่ว่าผมต้องไปตรงนั้นถึงจะช่วยได้ แค่ช่วยพรรคในระดับนี้ก็เต็มใจแล้ว จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง เพราะผมเป็นมาหลายตำแหน่งแล้ว และทุกตำแหน่งก็ทำมาอย่างเต็มที่"

โดย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ประจำวันที่ 14 ก.ย. 55
วันที่โพสต์: 30/09/2555 เวลา 18:04:45

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : ประพันธ์ จินดาเลิศอุดมดี,สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 เป็น “ผลที่มาจากต้นไม้พิษ ย่อมต้องเป็นพิษ” จึงต้องกำจัด แต่ฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามกลับมองว่า เพื่อไทยกำลังทำเพื่อตัวเอง การแก้รัฐธรรมนูญปี 50 จึงเป็นอีกสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคม โภคิน พลกุล มือกฎหมายจากพรรคเพื่อไทย เห็นว่า รัฐบาลต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจกับสังคมเพื่อให้ “หลุมดำ” การเมืองตื้นขึ้น "ผมชื่นชมนายกฯ ท่านอดทน ไม่ก้าวร้าว ไม่โต้ตอบ เราหยุดตรงนี้เสียก่อน ผมว่าสิ่งนี้ถูกต้อง" โภคิน เอ่ยถึงผู้นำรัฐบาล ปัจจุบันโภคินเป็น ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในมือกฎหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเขาเป็นอดีตรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง โภคิน พูดถึงเรื่องระยะเวลาที่จะได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า "อย่าไปกำหนดล่วงหน้า เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาเยอะ เอาเป็นว่าคณะทำงานจะเร่งรัดทำให้ดีที่สุด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจอย่างไรก็ว่ากันไป แต่พวกเราต้องทำให้เสร็จก่อน แต่ไม่ใช่ว่าไปตัดสินใจให้เขา ถือเป็นการนำเสนอทางเลือกที่ดี แต่ที่แน่ๆ ให้ฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยได้เข้าใจ" "ถ้ารัฐบาลได้รับข้อเสนอต่างๆ แล้วเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม ความเข้าใจต่างๆ ยังไม่ชัดเจน หากทำไปอาจเกิดปัญหา ก็รอดูเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผมคิดว่าคนคงไม่ว่า แต่หากโหวตแล้วคนไม่เอา เรื่องจะยุ่ง เราหลงทางไปเยอะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่รู้อะไรคือหลักหรือไม่ใช่หลัก อะไรคือถูกจริงหรือไม่ถูกจริง วันนี้ต้องกลับมาใหม่ ลดอารมณ์ความเกลียดชังต่างๆ ลงไป" "วันนี้ไม่ใช่เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ปัญหานายสนธิ (ลิ้มทองกุล) แต่เป็นปัญหาที่สังคมตกหลุมดำ การใช้อารมณ์ทำให้หลุมดำขยายไปทุกวัน เราต้องหยุดแล้วถอย ไม่ใช้อารมณ์มาพูดกัน ต้องก้าวข้ามหลุมดำนี้" "วันนี้ผมว่ารัฐบาลทำดีแล้ว แม้รัฐบาลถูกก็ไม่ดึงดัน ใช้เวลาหน่อย แม้จะเสียเปรียบเพราะมรดกของรัฐประหารที่พร้อมจะทำลายมีอีกเยอะ ไม่มีรัฐบาลไหนที่เดินและแก้ปัญหาให้ชาวบ้านยากขนาดนี้ แก้ปัญหาบ้านเมืองก็ยาก แล้วยังต้องระวังตัวด้วย เมื่อคนใช้อารมณ์มากๆ เราใช้อารมณ์ตามไม่ได้ แม้จะเจ็บ รู้สึกว่าบริหารคนไม่ได้ผล แต่ต้องอดทนและทำความเข้าใจ" "ในความเห็นผม รัฐบาลแม้จะเจ็บปวด จะกัดฟันเท่าไหร่ก็ต้องทน เป็นวิธีเดียวเท่านั้น เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้หลุมดำก็จะตื้นขึ้น เราจะก้าวข้ามไปทันทีไม่ได้ แต่ทำให้หลุมมันตื้นขึ้นจนไม่มีหลุมได้ ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่นั้น ผมก็ตอบไม่ได้" โภคิน พูดถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคาอยู่ในสภาเพื่อรอลงมติวาระ 3 ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องมีการโหวตวาระ 3 ส่วนจะโหวตให้ผ่านหรือโหวตให้ตก ก็ต้องดูสถานการณ์ ต่อข้อถามถึงการแก้ไขเนื้อหารัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะแก้มาตรา 68 เพื่อป้องกันไม่ให้มีการร้องศาลรัฐธรรมนูญก่อนโหวตวาระ 3 หรือไม่นั้น เขาบอกว่า ถึงตอนนี้มี 2 แนวคิด "ส่วนหนึ่งบอกถ้าอะไรที่จำเป็นต้องแก้เพื่อให้เกิดความบาลานซ์ (สมดุล) ของ 3 อำนาจก็ควรต้องแก้ แต่อีกส่วนบอกว่าต้องระวัง เพราะอาจเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าแก้เพื่อตัวเอง หากจะมีการแก้รายมาตรา ก็จะถูกใส่ร้ายว่าทำเพื่อตัวเอง เราจึงต้องให้ ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) เป็นคนทำ" โภคิน ย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องแก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม “โดยเฉพาะมาตรา 309 ไปรับรองประกาศของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นหมายความว่ากฎหมายอื่นๆ แม้แต่ประกาศ พระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นกฎหมายของพระมหากษัตริย์ยังขัดรัฐธรรมนูญได้ กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาแล้วพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่กฎหมายของคณะรัฐประหารขัดไม่ได้เลย เพราะรัฐธรรมนูญบอกเองให้ชอบหมด แบบนี้ทำไมเราทนอยู่ได้ ผมไม่เข้าใจ” “กฎหมายของคณะรัฐประหารใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีค่าเท่ากับรัฐธรรมนูญ อันนี้คิดว่าแย่แล้ว แต่ที่ไปบอกว่าผู้ปฏิบัติตามคำสั่งให้ถือว่าชอบระดับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน อันนี้ยิ่งแย่ใหญ่ เช่น ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) บอกว่าต้องทำหน้าที่โดยเที่ยงธรรม หากไม่เที่ยงธรรมคุณถูกลงโทษทางอาญา สมมติว่าเขาปฏิบัติหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง คปค.(คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ผลคือใครทำอะไรไม่ได้ เพราะถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมถึงไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ได้อย่างไร” “ทั้งโลกที่เขาพูดเรื่องต้นไม้พิษ ผลไม้พิษ เป็นคำวินิจฉัยของศาลสูงสหรัฐ เขาบอกว่าหากคุณเริ่มต้นไม่ถูก ท้ายมันต้องไม่ถูกด้วย พอบอกว่าจะแก้มาตรา 309 ก็หาว่าทำเพื่อตัวเอง ผมยังมองไม่ออกว่ามาตรา 309 มันไปเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ตรงไหน มันไม่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มันเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ยึดอำนาจ” เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ จำเป็นต้องยกเลิกมาตรา 309 ก่อนหรือไม่ โภคิน บอกว่า จะนิรโทษกรรมใครสามารถออกกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามาตรา 309 ยังอยู่ แปลว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญตลอดไป การปฏิบัติขององค์กรหรือบุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คปค. เป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้คุณจะแกล้งหรือรังแกอย่างไรก็ชอบหมด เมื่อซักอีกว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ จะมีผลให้ยกเลิกคดีความต่างๆ รวมทั้งคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเข้าสู่กระบวนการที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเห็นว่าเป็นไปตามหลักนิติธรรม รายละเอียดขั้นตอนคืออย่างไร ใครจะเป็นเจ้าภาพเริ่มต้น เพราะฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จริงๆ ประเด็นนี้ โภคิน ตอบว่า เขาไม่สามารถบอกได้ ต้องขึ้นอยู่กับสภาที่จะต้องไปหารือกัน แต่ก็ต้องได้ข้อสรุปก่อนว่าสิ่งที่ทำมาไม่ถูกต้อง แล้วก็ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ตามกระบวนการปกติ โภคิน ยังแสดงท่าทีให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้รัฐธรรมนูญกำหนดให้เพิ่มชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง "เราเอาศาลฎีกาแผนกคดีอาญามาจากฝรั่งเศส ซึ่งเดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสเขาถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเพราะมีศาลเดียว แต่ของเขาอำนาจจำกัดที่การทรยศต่อชาติเป็นหลัก แต่ของเรากวาดเรียบ แม้แต่คนที่ไม่ใช่นักการเมือง เป็นผู้สนับสนุนก็โดนหมด ขึ้นศาลเดียวหมด ระบบนี้จริงๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีใครเข้าใจ มองว่าคอร์รัปชันต้องกำจัด แต่ไม่ได้ดูว่าถ้าเอาไปแกล้งกันแล้วจะเป็นอย่างไร หลักสิทธิมนุษยชนต้องมี 2 ชั้นศาล คนต้องมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลา" อนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ต้องการให้สามารถดำเนินคดีอาญากับนักการเมืองได้อย่างเห็นผล รวดเร็ว จึงให้มีเพียงศาลเดียว ซึ่งศาลนี้เป็นศาลที่พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก จนทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหนีออกนอกประเทศ (ก่อนมีคำพิพากษา) และยังไม่ยอมเดินทางกลับประเทศไทย โภคิน เห็นว่า ในระบบการเมืองไทยยังควรมี "องค์กรอิสระ" ต่อไป แต่ต้องแก้ไขเรื่องที่มาและอำนาจ โดยในส่วนที่มานั้น ไม่ควรให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมากเหมือนในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะยิ่งศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมาก สถาบันศาลก็จะได้รับผลกระทบมาก ภาพพจน์ศาลระยะหลังเสียหายไปเยอะ เขาพูดถึงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า หลายเรื่องตัดสินได้ดี อะไรที่ไม่ใช่ประเด็นที่เป็นเรื่องอารมณ์ของคน 2 กลุ่ม ศาลทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี แต่พอเป็นประเด็นของคน 2 สีเมื่อไหร่ ศาลก็จะแกว่ง สำหรับข่าวลือว่าเขาถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 เพื่อดูแลงานด้านกฎหมายให้กับรัฐบาลนั้น โภคิน บอกว่า "ไม่ใช่ว่าผมต้องไปตรงนั้นถึงจะช่วยได้ แค่ช่วยพรรคในระดับนี้ก็เต็มใจแล้ว จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง เพราะผมเป็นมาหลายตำแหน่งแล้ว และทุกตำแหน่งก็ทำมาอย่างเต็มที่" โดย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...