เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือทำกิจกรรมเดียวทั้งพื้นที่มักมีความเสี่ยงสูงเมื่อต้องพบกับโรคแมลงศัตรูพืชระบาด กระทบแล้ง/น้ำท่วมทำให้เสียหาย หรือขายได้ราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ผลกระทบก็คือความไม่มั่นคงต่อการยังชีพ

วิถีเกษตรผสมผสานแบบประณีต เป็นการจัดการใช้ที่ดิน ทุน แรงงานหรือปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม ทำการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมงในพื้นที่เดียวกัน เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยสุดเมื่อจัดการใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสาน ควบคุมโรคแมลงศัตรูพืชโดยชีวะวิธี มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวต่อเนื่อง หรือชะลอการขายได้เมื่อราคาตกต่ำ เป็นหนึ่งวิถีที่ใครก็ทำได้ วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสานแบบประณีต…วิถีที่ยั่งยืนมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณวิวิช พวงสวัสดิ์ เกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสานแบบประณีต เล่าให้ฟังว่า ได้เคยทำงานภาครัฐมาก่อน แต่ปัจจุบันได้ลาออกมาทำงานภาคการเกษตรกับครอบครัว ในระยะแรกพื้นที่เกษตรที่นี่ได้ปลูกพืชชนิดเดียวมักทำให้ได้รับมีความเสี่ยงกับความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมอยู่เนืองๆ แถมยังมีโรคแมลงศัตรูพืชระบาดอยู่บ่อยครั้ง ผลผลิตที่ได้รับมากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน ฐานะความเป็นอยู่จึงพออยู่พอกินที่ยังไม่มีความมั่นคงนัก

คุณวิวิช พวงสวัสดิ์ เกษตรกรทำเกษตรผสมผสานแบบประณีต

จุดเปลี่ยน เริ่มเมื่อคุณพ่อได้ไปนำหน่อไผ่เลี้ยงที่เจริญเติบโตอยู่ตามริมห้วยในป่าเขามาเป็นอาหารในครัวเรือน ในคราวเดียวกันก็ได้ขุดเหง้าไผ่เลี้ยงมาปลูกที่สวนโดยมีเป้าหมายเพียงได้มีหน่อให้เก็บมากินเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน วิธีการปลูกเลี้ยงไผ่ก็ทำแบบผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ ได้ปลูกไผ่ระยะระหว่างต้นและแถวห่างกัน 4×4 เมตร หลังการปลูกได้ดูแลรักษาบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะปล่อยให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ

ส่วนเพื่อนบ้านที่ทราบข่าวต่างแสดงความคิดเห็นว่าไผ่นั้นจะเจริญเติบโตได้ดีที่ตามริมห้วยป่าเขาเท่านั้น เมื่อนำมาปลูกที่นี่จะเจริญเติบโตได้อย่างไร? เหมือนกับเป็นโจทย์ที่ทำให้ต้องค้นหาวิธีการสู้ ด้วยความมุ่งมั่นในปี 2552 จึงได้ทดลองปรับเปลี่ยนระยะการปลูกไผ่มาเป็น 4×3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 133 ต้น ใช้พื้นที่ปลูกไผ่ 10 ไร่

การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งคือ ปี 2558 เราได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสานแบบประณีต และเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวพระราชดำริในการปลูกพืชหลากหลายผสมผสาน ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตจากกิจกรรมหลายชนิดที่เก็บได้ต่อเนื่อง ได้อาหารปลอดสารเคมีบริโภคเพื่อสุขภาพดีทั้งครอบครัว ด้วยความมั่นใจว่าดีและเราทำได้ ครอบครัวจึงตัดสินใจร่วมกันทำการปรับเปลี่ยนสวนอีกครั้งมาเป็นเกษตรผสมผสานแบบประณีต

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกัน ก็ได้ก้าวสู่การเป็นเกษตรกรก้าวหน้า รุ่นใหม่ YSF = Young Smart Farmer ในยุคประเทศไทย 4.0 ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมจากกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการด้วยแนวทางนี้

1. 1. หลักการ (Principle) คือ การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยใช้เครือข่ายเป็นเป้าหมายและกลไกในการพัฒนาให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง บนหลักการของการเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีส่วนร่วมและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

2. 2. เป้าประสงค์ (Goal) ด้วยการ 1. สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ทำการเกษตร 2. เป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น 3. เป็นการทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุ 4. เชื่อมโยงเครือข่ายในทุกระดับและทุกภาคส่วน

3. กลุ่มเป้าหมาย Target audience ด้วยการ 1. เกษตรกรรุ่นใหม่อายุ 17-45 ปี เริ่มต้นทำการเกษตรและเลือกประกอบอาชีพการเกษตร และ 2. มีความมุ่งมั่นตั้งใจต้องการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตตนเอง

คุณวิวิช เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า จากแนวทางข้างต้นจึงคิดใหม่ทำใหม่ พร้อมนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อก้าวสู่การเป็นเกษตรกรก้าวหน้ารุ่นใหม่ ปัจจุบันได้จัดการใช้พื้นที่ 19 ไร่ ทำการเกษตรผสมผสานแบบประณีต ดังนี้

1. 1. พื้นที่ 6 ไร่ ได้จัดการปลูกไผ่เลี้ยง ไผ่บง ไผ่รวกหวาน ไผ่ดงดำหวาน ไผ่กิมซุ่ง ไผ่ดำ และปลูกกล้วยแซม

คัดแยกหน่อไม้ไผ่ลืมแล้ง นำส่งขาย

1. 2. พื้นที่ 3 ไร่ ได้จัดการปลูกผักหวานป่า แบบผสมผสานกับการปลูกชะอม มะละกอ กล้วย และไม้พะยูง

2. 3. พื้นที่ 2 ไร่ ได้จัดการปลูกมัลเบอร์รี่หรือต้นหม่อนกินผล และปลูกกล้วยแซม

ต้นหม่อนปลูกและดูแลรักษาง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

1. 4. พื้นที่ 8 ไร่ ได้จัดการเป็นพื้นที่ทำการเกษตรผสมผสาน แบ่งเป็นทำนา หนึ่งไร่หลายแสน ปลูกกล้วย ผักหวานป่า ไผ่ มะม่วง ขนุน หรือพืชผักสวนครัวต่างๆ และในร่องน้ำได้ปล่อยเลี้ยงปลา ปู กุ้ง หรือหอยด้วยวิธีธรรมชาติ

การพัฒนาสวนไผ่ ได้จัดการรื้อพื้นที่สวนไผ่จากเดิมด้วยการเปลี่ยนมาปลูกไผ่ระยะ 3×1.5 เมตร ชนิดไผ่ที่นำมาปลูก ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่บงหวาน ไผ่ดงดำหวาน ไผ่กิมซุ่ง ไผ่ดำ และไผ่รวกหวานไผ่สายพันธุ์ใหม่ การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาได้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนเหมาะสม ให้น้ำต้นไผ่พอเพียงเพื่อการเจริญเติบโตสมบูรณ์ พร้อมได้จัดการปลูกและผลิตให้หน่อไผ่คุณภาพออกทั้งในและนอกฤดูกาล เพื่อให้มีรายได้นำเป็นทุนหมุนเวียนการผลิต

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน

แนวคิดการทำเกษตรผสมผสานแบบประณีตคือ คิดใหม่ทำใหม่ ลดความเสี่ยง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย มีให้เก็บกิน กำหนดราคาขายได้ มีเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน หรือผลิตด้วยระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของตลาด

วิถีเกษตรผสมผสานแบบประณีตที่สำคัญคือ ต้องมีการจัดการที่ดิน เงินทุน แรงงาน และปัจจัยการผลิต วางแผนจัดการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมงในพื้นที่เดียวกัน ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต งดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีด้วยการพึ่งพาธรรมชาติ หรือผลิตและใช้สารสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพปลอดภัยเก็บเกี่ยวต่อเนื่อง เป็นทางเลือกการยังชีพด้วยวิถีพอเพียงยั่งยืนมั่นคงที่ใครก็ทำได้

สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณวิรัช พวงสวัสดิ์ เลขที่ 7 หมู่ที่ 6 บ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39000 โทร. (089) 920-7815 หรือโทร. (081) 984-5179 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง โทร. (042) 313-477 ก็ได้ครับ

ขอบคุณ... https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_23967

ที่มา: เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ค. 60
วันที่โพสต์: 17/07/2560 เวลา 10:41:53 ดูภาพสไลด์โชว์ เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน