กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่

กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่

หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นสัญญาณในการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกปีการผลิต 60/61 ความสำคัญพระราชพิธีทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา สำหรับปีนี้ผลพยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี นอกจากพระราชพิธีดังกล่าวแล้ว ยังยึดประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยุเป็นในการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดน้ำเพาะปลูกอีกทางหนึ่งด้วย

กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2560/61 กระทรวงเกษตรฯได้พร้อมตั้งแต่จะถึงฤดูการผลิต โดยเน้นนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ด้านการเกษตรมาใช้เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ลดแรงงาน ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงการผลิตมากขึ้น ประกอบด้วย 4 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต ได้แก่ การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) การให้ความรู้และบริการทางการผลิต การบริหารการตลาด ความรู้เรื่องแหล่งเงินทุนและการทำบัญชี และการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเป้าหมายการจัดงาน Field Day คือให้ ศพก. หลัก หรือ ศพก. เครือข่าย จำนวน 882 ศูนย์ ดำเนินการ โดยให้พิจารณาเลือกชนิดสินค้าให้สอดคล้องกับสินค้าแปลงใหญ่ ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผัก/สมุนไพร ไม้ผล หม่อน กล้วยไม้ ปศุสัตว์ และประมง เป็นลำดับแรก

2. การเข้าถึงปัจจัยการผลิต โดยขณะนี้กรมการข้าวได้เตรียมข้าวเมล็ดพันธุ์ดีไว้แล้ว จำนวน 420,200 ตัน ในทุกศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว รวมทั้งศูนย์ข้าวชุมชน โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สปก. เป็นผู้ประสานงาน และมีพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ต้นพันธุ์อ้อยสะอาด 736,000 ต้น และถั่วเหลือง/ถั่วเขียว/ถั่วลิสง ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืช โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดูแล อีกทั้งมีเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 100,000 กก. และท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 5,000,000 กก.

นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งมีสารปรับปรุงอยู่ประมาณ 44,000 ตัน การทำปุ๋ยอินทรีย์ 223,419 ตัน การไถกลบตอซัง 535,262 ไร่ การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และให้สหกรณ์ที่มีความพร้อมจำหน่ายปุ๋ย 181 แห่ง การควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิต การให้บริการน้ำชลประทาน การบริการทางด้านหม่อน/ไหม แมลงเศรษฐกิจ เครื่องจักกลเกษตร และแหล่งทุน/สินเชื่อ อาทิ สินเชื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนในแปลงใหญ่ (กสก) 20,000 ล้านบาท การเก็บรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา (ยุ้งฉาง/สหกรณ์) (กสส) 14,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อเกษตรกรในเขต สปก. จากกองทุนปฏิรูปที่ดิน (สปก) 351.60 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่

3. การบริหารจัดการความเสี่ยง ได้แก่ การสำรวจ/เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ฯ/สัตว์ ประมง โดย ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) 1,764 แห่ง การเตรียมการป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์/ประมง รวมทั้งเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและการแจ้งเตือน และการประกันภัยพืชผล (ข้าว) 4. การสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ได้แก่ พัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพเกษตรกร ซึ่งขณะนี้ได้ขับเคลื่อน Smart Farmer/Young Smart Farmer ไปแล้ว จำนวน 11,130 ราย และให้ความรู้การจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) มากกว่า 300 ราย รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทั้งวิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงการตลาดและส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

สำหรับแผนในการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้เตรียมจัดสรรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยจัดเรียงตามลำดับความจำเป็นดังนี้ อันดับแรก จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี อันดับสอง เน้นการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ใช้น้ำชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วงเท่านั้น และอันดับสาม เน้นการบริหารจัดการน้ำท่าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยระบบและอาคารชลประทาน และดำเนินการเก็บกักน้ำในเขื่อนให้มากที่สุด ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดตามช่วงเวลา เพื่อความมั่นคงด้านการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ

“แผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 1 พ.ค. 60 ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การได้ รวม 17,196 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 วางแผนจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน รวม 27,331 ล้านลบ.ม. สามารถสนับสนุนการทำนาปีในเขตชลประทานได้ 15.95 ล้านไร่ ส่วนใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การ ณ 1 พ.ค. 60 รวม 4,400 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 วางแผนจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน รวม 10,878 ล้าน ลบ.ม.” พลเอกฉัตรชัย กล่าว

ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรจะเน้นผลักดันศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นวงจรในการขับเคลื่อนการผลิตในภาคเกษตรในปีนี้ วันนี้การทำการเกษตร ต้องมีการการจัดการอย่างเป็นระบบ จะทำแบบดั้งเดิมคงไม่ได้แล้ว องค์ความรู้ ข้อมูลทางการตลาด ลักษณะสินค้า คุณภาพมาตรฐานที่ตลาดต้องการเป็นสิ่งที่เกษตรยุคใหม่ต้องเรียนรู้ โดยให้มีการจัดงานฟิลเดย์ (Field Day)ขึ้นพร้อมๆกันทั่วประเทศโดยเริ่มจัดงานตั้งแต่วันนี้-ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนถึงมิ.ย.เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อม สามารถเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งหวังให้เกษตรกรได้ทำการเกษตรแบบมีคุณภาพ

กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวย้ำว่า เกษตรกรและผู้ประกอบการยุคใหม่จะต้องทำเกษตรอย่างชาญฉาด ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อทำการเกษตรต้องพัฒนาชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ให้ชีวิตดี เกษตรกรต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง การทำการเกษตรมีแผนมีเป้าหมาย ขณะนี้มีโลกการเปลี่ยนแปลงมากมาย สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบแทบทั้งสิ้นเกษตรกรต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่สำคัญต้องทำการเกษตรอย่างชาญฉลาดมีองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เกิดความเข้มแข็งในทุกด้าน

ขอบคุณ... https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_19283

ที่มา: เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ค. 60
วันที่โพสต์: 22/05/2560 เวลา 09:27:05 ดูภาพสไลด์โชว์ กระทรวงเกษตรฯจัดทัพ เตรียมพร้อมรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่