ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง

ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง

ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง

ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง

ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง

อาชีพเกษตรกร ชาวไทย ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางมานับศตวรรษ ในขณะเดียวกันก็ถูกกลุ่มคนทำนาบนหลังคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรชาวไทยยิ่งทำยิ่งจน

ในอดีตคนไทยยึดอาชีพทำนา เป็นหลัก ทำปีละครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นการทำนา ก็อพยพหางานทำในตัวเมือง ในกรุงเทพฯบ้าง เพื่อหารายได้และใช้เป็นทุนในการทำนาในฤดูกาลต่อไป

อาชีพทำนา เป็นอาชีพที่ยิ่งทำยิ่งจน ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ทำให้เกิดนาล่ม ปีแล้วปีเล่า หากปีใดทำนาได้ผลผลิตมากก็ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง โอกาสที่จะมีเงินเก็บออมนั้นยากยิ่ง

ในระยะ 2 ปีผ่านมา ประเทศไทย เกิดวิกฤติภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด รัฐบาลต้องออกมาเชิญชวนให้เกษตรกรหยุดนาปรัง เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก และให้เกษตรกรชาวนาให้หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน

จากการเชิญชวนของรัฐบาล ดูจะได้ผล เกษตรกรหันมาปลูกมันเทศ มันสำปะหลัง แตงโม แตงกวา พริก มะเขือ และพืชยืนต้นชนิดอื่นและเกษตรกรหลายรายหันมาปลูกพืชดอก พืชสวยงาม

นายอำนาจ อาจห้วยแก้ว อายุ 42 ปี อยู่บ้านตากฟ้า ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เกษตรกรชาวนา ได้หันมาปลูกพืชตัดดอก สามารถสร้างรายได้ ปีละ 2 ล้านบาท

“อำนาจ อาจห้วยแก้ว” เล่าว่า ที่ดินในท้องที่บ้านตากฟ้าส่วนใหญ่เป็นที่ดิน สปก. ที่รัฐบาลจัดสรรที่ทำกินให้กับเกษตรกร และตนก็ได้รับช่วงจากพ่อแม่ และประกอบอาชีพทำนาต่อจากพ่อแม่ แต่ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เมื่อ 4 มานี้ได้หันมาปลูกพืชตัดดอกขาย และเห็นว่า ดอกดาวเรือง มีสีเหลืองสด เป็นดอกไม้มงคลที่คนไทยนิยม นำไปทำพวงมาลัย นำไปบูชา และใช้ในเทศกาลต่างๆ มากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น จึงตัดสินใจปลูกดอกดาวเรืองติดต่อกันมา 4 ปีแล้ว

“ปลูกดอกดาวเรือง พันธุ์ทองนที และพันธุ์ เหลืองฤทัย กว่า 10 ไร่ เมื่อครบ 45 วัน ก็สามารถตัดดอกส่งตลาดได้ จากนั้น สามารถตัดดอกได้วันเว้นวัน แต่ละต้นจะมีดอกได้ต่อเนื่องประมาณ 100 ดอก ตัดได้ประมาณ 1 เดือน ต้นดาวเรืองก็หมดอายุ จากนั้นก็ไถกลบ ตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นก็ปลูกต่อหมุนเวียนไป ตลอดทั้งปี การตัดดอกแต่ละครั้ง จะนำส่งที่ปากคลองตลาดกรุงเทพฯ และมีพ่อค้าแม่ค้า ในพื้นที่มารับไปขายตามตลาดต่างๆ ก็มี แต่มีจำนวนไม่มากเท่าส่งไปที่กรุงเทพฯ โดยแม่ค้าจะรับซื้อในราคาดอกละ 1 บาท โดยจัดใส่ถุง ถุงละ 25 ดอก ขายถุงละ 25 บาท ตัดดอกแต่ละครั้งจะสร้างรายได้ ครั้งละ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท และจะมีรายได้ ทั้งแปลง (13 ไร่) กว่า 2 ล้านบาท

“อำนาจ” เล่าอีกว่า นอกจากปลูกดาวเรืองตัดดอกขายแล้ว ยังเพาะต้นกล้า ไว้ขายให้กับเกษตรกรที่สนใจปลูกอีกด้วย โดยขายต้นละ 2 บาท หรือขายยกถาด จำนวน 100 ต้น ถาดละ 200 บาท สำหรับปัญหาการเพาะดาวเรืองตัดดอก ขาย ผู้ปลูกไม่สามารถนำเมล็ดจากดอกที่เราปลูกไปทำพันธุ์ได้ เนื่องจากเมล็ดเป็นหมัน จะต้องซื้อเมล็ดจากบริษัทเท่านั้น จึงจะปลูกขึ้น และทางบริษัทที่ขายเมล็ดพันธุ์ก็รับรองการงอกด้วย คือ งอกทุกเมล็ด

“อาชีพเกษตรกร หากต้องการปลูกเพื่อทำการค้า ต้องรู้จักการตลาด พยายามปลูกพืชที่แตกต่างออกไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลผลิตล้นตลาด จะทำให้ผลผลิตราคาตก ดังนั้น ก่อนปลูกพืชชนิดใด ต้องศึกษาตลาดให้ดีก่อน ว่ามีตลาดรองรับหรือไม่ ขยันผลิต อย่างเดียว อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จก็ได้” อำนาจ ให้ข้อคิด

ขอบคุณ... https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_17879

ที่มา: เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 2/05/2560 เวลา 10:57:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ชลประทานเร่งกักน้ำรับมือแล้งช่วยพื้นที่เกษตร หวั่นฝนทิ้งช่วง