เทรนด์นักธุรกิจรุ่นใหม่ "เกาะไอที ลงทุนต่ำ กำไรสูง"

แสดงความคิดเห็น

แอปพลิเคชั่นธุรกิจออนไลน์บนมือถือ

ประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ จับโมเดลของธุรกิจคนรุ่นใหม่ที่มีการปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระแสโลก กระแสเทคโนโลยี รวมทั้งกระแสของอุตสาหกรรมพื้นฐานในบ้านเราที่มีส่วนให้คนรุ่นใหม่มีการปรับ ตัวมากขึ้น ทำให้การทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่มีการพัฒนาไปอีกขั้น ไม่จำเป็นต้องเสื่อผืนหมอนใบเหมือนสมัยปู่ย่า เครื่องมือภาครัฐ เทคโนโลยี ทำให้คนรุ่นใหม่รวยเร็ว

"สตาร์ตอัพ" รวยด่วน

นิยามสตาร์ตอัพ คือ ธุรกิจที่ลงทุนต่ำแต่ผลตอบแทนสูง เช่น การสร้างแอปพลิเคชั่นจากคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวแต่ได้รับผลตอบแทนจากการ เข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนมากกว่า 10-100 เท่า กลุ่มนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการให้การสนับสนุนในโครงการประกวด และการให้คำปรึกษาเฉพาะทาง รวมทั้งการส่งบุคลากรให้กับนักลงทุนหรือ Venture Capital อีกด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คคาดว่าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการได้ถึง 200 ราย และสร้างรายได้ถึง 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี

ขณะ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเองยอมรับเทรนด์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่เกิดมากขึ้น อาจารย์ปรีดา ยังสุขสถาพร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า กระแสของสตาร์ตอัพ เกิดขึ้นทั้งโลกและเข้าใจตรงกัน คือเป็นธุรกิจที่ลงทุนต่ำแต่ทำกำไรได้สูง คนหนุ่มสาวอายุตั้งแต่ 20 จนถึง 30 กว่า ๆ

จะ จินตนาการถึงการทำงาน ในร้านกาแฟ สร้างธุรกิจตัวเองโดยใช้ไอทีเป็นหลัก แล้วมีนักลงทุนมาซื้อไปทำกำไรต่อในราคาที่สูง เช่น เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม

"ตอน นี้ในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นเศรษฐกิจไม่ดี บรรดานักลงทุนเหล่านี้หันมาลงทุนในเอเชียมากขึ้น มองหาธุรกิจที่ทำกำไรได้สูง โดยเข้าไปเสาะหาตามงานประกวด เช่น การแข่งขันสตาร์ตอัพ Echelon ที่สิงคโปร์ จากนั้นก็มาที่อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาที่ไทย"

ที่ เราเห็นได้ชัดคือ การจัดงาน Startup Weekend Bangkok 2013 ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพจัดขึ้น เมื่อ 24 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 240 คน มีนักลงทุน 48 รายจากทั่วโลกมาฟังว่า ประเทศไทยจะมีธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ จากที่ไทยเคยมีสตาร์ตอัพไทยที่ไปคว้ารางวัลในเวที Echelon นี้มาแล้วทำให้ไทยได้รับการยอมรับมากขึ้น

ล่าสุดด้าน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดงบฯกว่า 250 ล้านบาท เพื่อสนับสนุน

ผู้ ประกอบการใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสตาร์ตอัพผ่านโครงการ "ทรู อินคิวบ์" โดยจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ 5 ทีม ในสาขาต่าง ๆ เช่น Content & Media Entertainment, E-Commerce, E-Payment เป็นต้น

ผู้ ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญและมีเงินลงทุนเบื้องต้น ทีมละ 5 แสน-1 ล้านบาท ในการเริ่มต้นธุรกิจเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอีกด้วย

สร้างแบรนด์ เน้นจ้างผลิต

สถิติจากโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ หรือ NEC เผยว่า จากการอบรมมาแล้ว 1,600 รุ่น มีผู้ประกอบการใหม่จบหลักสูตรรวม 64,000 คน โดยในช่วงปี 2545-2551 จำนวนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ช่วงอายุ 21-30 ปี เฉลี่ย 38.6% ส่วนใน 5 ปีหลังตั้งแต่ 2552-2556 ผู้เข้าอบรมช่วงอายุ 21-30 ปี สูงขึ้นเฉลี่ย 45%

"ผู้ประกอบการที่เข้ามาไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ก็สามารถหาความมั่นคงได้จากการ รับจ้างผลิต และผู้ที่สร้างแบรนด์ไม่ต้องผลิตเอง สามารถคิดสูตรแล้วจ้างโรงงานผลิตได้ โดยกลุ่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือกลุ่มเครื่องสำอาง เนื่องจากการนำเข้าสารสกัดมีราคาแพงจึงนิยมการจ้างผลิตโรงงานที่นำเข้าและ ผลิตอยู่แล้วมากกว่า รองลงมาคือกาแฟและสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ และเสื้อผ้าต่าง ๆ

ส่วน ใหญ่เน้นการขายผ่านระบบโซเชียล มีเดีย ใช้งบประมาณน้อย และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ร้านค้า การติดต่อ ซื้อขายกับลูกค้ามีช่องทางมากขึ้น

และจากการติดตามผล ผู้ที่เข้ามาอบรมมีผู้ที่เข้าอบรมออกไปประกอบธุรกิจและสามารถอยู่รอดราว 10-15% ซึ่งเชื่อว่ายังต้องอาศัยรัฐบาลส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อาทิ กองทุนตั้งตัวได้

น่าจะเป็นผลดีแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มากขึ้น

แฟรนไชส์เน้นแบรนด์

นอก จากการสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง การซื้อแฟรนไชส์สำเร็จรูปยังเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดย นางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทยกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่า ช่วงอายุที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อเริ่มต้นธุรกิจมีช่วงอายุต่ำลงคือ 20-30 ปี สูงถึง 70% จากเดิมมีเพียง 20%

ลักษณะ แฟรนไชส์ที่ซื้อจะขึ้นอยู่กับเงินทุน เช่น กลุ่มที่มีเงินลงทุนหลักล้านบาทเป็นต้นไปจะซื้อแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์ที่มี ชื่อเสียงเนื่องจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้น ๆ

รวม ถึงการจัดการที่เป็นระบบทั้งการบริหาร, พนักงาน สามารถเริ่มต้นได้ทันที ถือเป็นการเรียนลัดในการสร้างกิจการเป็นของตนเอง อีกทั้งมีความเสี่ยงน้อยกว่า มีอัตราการอยู่รอดสูงถึง

80% อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น, พิซซ่า, สเวนเซ่นส์ เป็นต้น

ขณะ ที่ นางสาวอนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า แนวโน้มผู้ที่ประกอบธุรกิจเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เห็นได้จากผู้ที่เข้ามาซื้อแฟรนไชส์ของเซเว่นฯ จากเดิมที่รับช่วงกิจการจากรุ่นสู่รุ่น เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เคยประกอบอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศมาก่อนมีสัด ส่วนสูงสุดอยู่ที่ 37% จากทั้งหมด

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371294649

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 16/06/2556 เวลา 03:20:24 ดูภาพสไลด์โชว์ เทรนด์นักธุรกิจรุ่นใหม่ "เกาะไอที ลงทุนต่ำ กำไรสูง"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แอปพลิเคชั่นธุรกิจออนไลน์บนมือถือ ประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ จับโมเดลของธุรกิจคนรุ่นใหม่ที่มีการปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระแสโลก กระแสเทคโนโลยี รวมทั้งกระแสของอุตสาหกรรมพื้นฐานในบ้านเราที่มีส่วนให้คนรุ่นใหม่มีการปรับ ตัวมากขึ้น ทำให้การทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่มีการพัฒนาไปอีกขั้น ไม่จำเป็นต้องเสื่อผืนหมอนใบเหมือนสมัยปู่ย่า เครื่องมือภาครัฐ เทคโนโลยี ทำให้คนรุ่นใหม่รวยเร็ว "สตาร์ตอัพ" รวยด่วน นิยามสตาร์ตอัพ คือ ธุรกิจที่ลงทุนต่ำแต่ผลตอบแทนสูง เช่น การสร้างแอปพลิเคชั่นจากคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวแต่ได้รับผลตอบแทนจากการ เข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนมากกว่า 10-100 เท่า กลุ่มนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการให้การสนับสนุนในโครงการประกวด และการให้คำปรึกษาเฉพาะทาง รวมทั้งการส่งบุคลากรให้กับนักลงทุนหรือ Venture Capital อีกด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คคาดว่าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการได้ถึง 200 ราย และสร้างรายได้ถึง 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี ขณะ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเองยอมรับเทรนด์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่เกิดมากขึ้น อาจารย์ปรีดา ยังสุขสถาพร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า กระแสของสตาร์ตอัพ เกิดขึ้นทั้งโลกและเข้าใจตรงกัน คือเป็นธุรกิจที่ลงทุนต่ำแต่ทำกำไรได้สูง คนหนุ่มสาวอายุตั้งแต่ 20 จนถึง 30 กว่า ๆ จะ จินตนาการถึงการทำงาน ในร้านกาแฟ สร้างธุรกิจตัวเองโดยใช้ไอทีเป็นหลัก แล้วมีนักลงทุนมาซื้อไปทำกำไรต่อในราคาที่สูง เช่น เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม "ตอน นี้ในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นเศรษฐกิจไม่ดี บรรดานักลงทุนเหล่านี้หันมาลงทุนในเอเชียมากขึ้น มองหาธุรกิจที่ทำกำไรได้สูง โดยเข้าไปเสาะหาตามงานประกวด เช่น การแข่งขันสตาร์ตอัพ Echelon ที่สิงคโปร์ จากนั้นก็มาที่อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาที่ไทย" ที่ เราเห็นได้ชัดคือ การจัดงาน Startup Weekend Bangkok 2013 ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพจัดขึ้น เมื่อ 24 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 240 คน มีนักลงทุน 48 รายจากทั่วโลกมาฟังว่า ประเทศไทยจะมีธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ จากที่ไทยเคยมีสตาร์ตอัพไทยที่ไปคว้ารางวัลในเวที Echelon นี้มาแล้วทำให้ไทยได้รับการยอมรับมากขึ้น ล่าสุดด้าน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดงบฯกว่า 250 ล้านบาท เพื่อสนับสนุน ผู้ ประกอบการใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสตาร์ตอัพผ่านโครงการ "ทรู อินคิวบ์" โดยจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ 5 ทีม ในสาขาต่าง ๆ เช่น Content & Media Entertainment, E-Commerce, E-Payment เป็นต้น ผู้ ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญและมีเงินลงทุนเบื้องต้น ทีมละ 5 แสน-1 ล้านบาท ในการเริ่มต้นธุรกิจเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอีกด้วย สร้างแบรนด์ เน้นจ้างผลิต สถิติจากโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ หรือ NEC เผยว่า จากการอบรมมาแล้ว 1,600 รุ่น มีผู้ประกอบการใหม่จบหลักสูตรรวม 64,000 คน โดยในช่วงปี 2545-2551 จำนวนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ช่วงอายุ 21-30 ปี เฉลี่ย 38.6% ส่วนใน 5 ปีหลังตั้งแต่ 2552-2556 ผู้เข้าอบรมช่วงอายุ 21-30 ปี สูงขึ้นเฉลี่ย 45% "ผู้ประกอบการที่เข้ามาไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ก็สามารถหาความมั่นคงได้จากการ รับจ้างผลิต และผู้ที่สร้างแบรนด์ไม่ต้องผลิตเอง สามารถคิดสูตรแล้วจ้างโรงงานผลิตได้ โดยกลุ่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือกลุ่มเครื่องสำอาง เนื่องจากการนำเข้าสารสกัดมีราคาแพงจึงนิยมการจ้างผลิตโรงงานที่นำเข้าและ ผลิตอยู่แล้วมากกว่า รองลงมาคือกาแฟและสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ และเสื้อผ้าต่าง ๆ ส่วน ใหญ่เน้นการขายผ่านระบบโซเชียล มีเดีย ใช้งบประมาณน้อย และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ร้านค้า การติดต่อ ซื้อขายกับลูกค้ามีช่องทางมากขึ้น และจากการติดตามผล ผู้ที่เข้ามาอบรมมีผู้ที่เข้าอบรมออกไปประกอบธุรกิจและสามารถอยู่รอดราว 10-15% ซึ่งเชื่อว่ายังต้องอาศัยรัฐบาลส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อาทิ กองทุนตั้งตัวได้ น่าจะเป็นผลดีแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มากขึ้น แฟรนไชส์เน้นแบรนด์ นอก จากการสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง การซื้อแฟรนไชส์สำเร็จรูปยังเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดย นางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทยกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่า ช่วงอายุที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อเริ่มต้นธุรกิจมีช่วงอายุต่ำลงคือ 20-30 ปี สูงถึง 70% จากเดิมมีเพียง 20% ลักษณะ แฟรนไชส์ที่ซื้อจะขึ้นอยู่กับเงินทุน เช่น กลุ่มที่มีเงินลงทุนหลักล้านบาทเป็นต้นไปจะซื้อแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์ที่มี ชื่อเสียงเนื่องจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้น ๆ รวม ถึงการจัดการที่เป็นระบบทั้งการบริหาร, พนักงาน สามารถเริ่มต้นได้ทันที ถือเป็นการเรียนลัดในการสร้างกิจการเป็นของตนเอง อีกทั้งมีความเสี่ยงน้อยกว่า มีอัตราการอยู่รอดสูงถึง 80% อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น, พิซซ่า, สเวนเซ่นส์ เป็นต้น ขณะ ที่ นางสาวอนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า แนวโน้มผู้ที่ประกอบธุรกิจเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เห็นได้จากผู้ที่เข้ามาซื้อแฟรนไชส์ของเซเว่นฯ จากเดิมที่รับช่วงกิจการจากรุ่นสู่รุ่น เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เคยประกอบอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศมาก่อนมีสัด ส่วนสูงสุดอยู่ที่ 37% จากทั้งหมด ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371294649

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...