เครดิตประเทศติดหล่ม

แสดงความคิดเห็น

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 ที่ผ่านมาจะขยายตัวได้ 6.40% ต่อปี ดีเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้แค่ 5.50% ต่อปี แต่ก็ไม่สามารถเป็นแรงดึงดูดให้สถาบันจัดอันดับชั้นนำต่างๆ ของโลกปรับเพิ่มเครดิตให้กับไทยได้

ปรากฏการณ์เช่นนี้ฟ้องว่าเศรษฐกิจไทยข้างนอกดูดี แต่ข้างในยังมีปัญหาและเต็มไปด้วยความเสี่ยง

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจปี 2555 ขยายตัวได้ดี เพราะฐานการขยายตัวเศรษฐกิจปี 2554 อยู่ในระดับต่ำมาก 0.10% ต่อปีเท่านั้น เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่

นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2555 สูง มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากการอัดฉีดเงินผ่านโครงการประชานิยมจำนวน มากหลายแสนล้านบาทผ่านโครงการต่างๆ ทั้งรถคันแรก บ้านหลังแรก จำนำข้าว เป็นเหมือนการโด๊ปยาให้เศรษฐกิจโตขึ้นมา แต่ไม่ได้เติบโตจากพื้นฐานที่แท้จริง

เพราะหากไปดูแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย ปี 2555 ด้านการส่งออก ที่ขยายตัวได้เพียง 4% จากที่ประมาณการไว้ 15% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

เมื่อไส้ในเศรษฐกิจของไทยยังอ่อนยวบ แม้ภายนอกจะดูเติบโตได้ดี ทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยไม่ถูกปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามเดินสายล็อบบี้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ ถือให้ปรับเพิ่มเครดิตให้ไทยแต่ก็ไม่เป็นผล

ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับเครดิตประกอบด้วย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้เครดิตไทยอยู่ที่ Baa1 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ให้เครดิตไทยที่ BBB+ และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ให้เครดิตไทยอยู่ที่ BBB+

ในส่วนของฟิทช์นั้นได้ปรับเครดิตของไทยเพิ่มขึ้นจาก BBB เป็น BBB+ เมื่อต้นปี ซึ่งดูผิวเผินแล้วเหมือนเครดิตของไทยได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูเทียบกับสถาบันจัดอันดับอื่นๆ แล้ว จะเห็นว่าการปรับขึ้นของฟิทช์เป็นการปรับเครดิตของไทยให้มาอยู่ในระดับเดียว กับมูดี้ส์และเอสแอนด์พีเท่านั้น

อันดับเครดิตประเทศของไทยนั้นถือว่าต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งอยู่ถึง 2 ขั้น

หากย้อนหลังไปตั้งแต่ไทยจ้างสถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยตั้งแต่ปี 2530 เครดิตของไทยถูกจัดอยู่ที่ A แต่หลังจากวิกฤตปี 2540 เครดิตของไทยถูกปรับลดลงต่ำจนเกือบเป็นประเทศที่ไม่น่าลงทุน หรือได้เครดิตต่ำกว่า B แต่โชคดีที่ยังรักษาเครดิตได้ และปรับเพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ในระดับ BBB+ ได้ในหลายปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของหลายรัฐบาลที่จะพยายามทำให้เครดิตของไทยกลับไปอยู่ที่ A เหมือนก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งยังไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะเหลือเพื่อแค่ปรับขึ้นแค่หนึ่งระดับเท่านั้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเครดิตของไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาติดหล่มอยู่ กับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเชื่อว่ายังมีความขัดแย้งรุนแรงทำให้การ เมืองยังมีความอ่อนไหว และส่งผลต่อการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ

ยิ่งในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาภายหลังเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลทำให้เกิดภาระการคลังกองโต อย่างโครงการรับจำนำข้าว กำลังเป็นจุดตายเศรษฐกิจและจุดสลบของเครดิตประเทศ

หากเป็นเช่นนี้เครดิตของไทยนอกจากไม่สามารถขึ้นไปอยู่ที่ระดับ A ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงกว่าที่เป็นอยู่ ปัจจุบัน

นั่นหมายถึงต้นทุนทางการเงินของไทยที่เพิ่มขึ้น

หากพิจารณาเศรษฐกิจไทยเองก็พบว่า มีปัญหาเรื่องการขยายตัวตั้งแต่เริ่มปี 2556 เพราะการขยายตัวไตรมาสแรกทำได้ 5.30% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีโตไม่ถึง 54.505.50% ตามที่ตั้งไว้ โดยเหลือ 4.205.20% ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้เครดิตของประเทศเปราะบางมากขึ้น

ที่สำคัญปัญหาการคลังที่ถูกเตือนจากมูดี้ส์ ในโครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท จะเป็นภาระงบประมาณจนทำให้ทำงบสมดุลไม่ได้ตามเป้าในปี 2560 และพอกหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จนหนีไม่พ้นกระทบกับเครดิตของประเทศในที่สุด

เสียงเตือนจากมูดี้ส์ทำให้รัฐบาลถึงกับนั่งไม่ติด ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ต่างพยายามชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง แต่กลับทำให้สถานการณ์เครดิตของประเทศเลวร้ายลงไปอีก

เพราะถึงตอนนี้กลับไม่มีใครชี้แจงได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากโครงการที่ แท้จริงเป็นเท่าไร แม้แต่นักวิเคราะห์ต่างประเทศยังออกมาระบุ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเสียไปแล้ว ถึงจะยังไม่ถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตของประเทศก็ตาม

สัญญาณร้ายของอันดับเครดิตของไทยที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว ยังอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เครดิตของประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงจากนโยบาย ของรัฐบาล

หากย้อนกลับไปดูในอดีต ตั้งแต่เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 เครดิตของไทยก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ หรือจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ปี 2540 เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจและทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านบาท เครดิตของไทยก็ยังไม่ถูกลด

แต่นโยบายรับจำนำข้าวที่ผลขาดทุนยังไม่เป็นทางการเบื้องต้น 2.6 แสนล้านบาท เขย่าเครดิตของไทยให้ทรุดลงได้ เพราะสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมองว่า เป็นโครงการปลายเปิดไม่มีที่สิ้นสุดของโครงการ จะสร้างภาระการคลังและความเสียหายให้กับประเทศไม่มีวันจบเช่นกัน

โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ดำเนินการมาไม่ถึง 2 ปี ใช้เงินไปแล้ว 6.6 แสนล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะใช้เงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท มีข้าวค้างสต๊อกอีกกว่า 1618 ล้านตันข้าวสาร ที่ยิ่งระบายขายออกได้ช้ายิ่งขาดทุนเพิ่มมากขึ้น

เพราะ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า การระบายข้าวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี นั้น หมายความว่าการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี ยิ่งทำให้ข้าวเสื่อมสภาพขายได้ราคาน้อยลงเท่านั้น

ขณะที่ นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่เกาะติดข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ออกมาระบุว่า การระบายข้าวสารของรัฐบาลได้ตันละ 1 หมื่นบาท น้อยกว่าราคาจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ทำให้ขาดทุนจำนวนมโหฬาร

ที่น่าเป็นห่วงกว่าผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นทุกนาที ทุกวัน คือ การรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ฤดูกาลผลิตปี 2556/2557 และข้าวนาปรังปี 2557 รัฐบาลจะใช้เงินจากไหน หากการระบายข้าวของรัฐบาลยังโคม่า การรับจำนำสูงกว่าราคาตลาดเกือบเท่าตัว ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่ารัฐบาลหนีไม่พ้นต้องกู้เงินมาเพิ่ม

หากเป็นเช่นนั้นทำให้แนวโน้มการใช้เงินกู้ในโครงการรับจำนำของ รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นกว่า 1 ล้านล้านบาท เท่ากับหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีภาระ ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงถึงปีละ 67 หมื่นล้านบาท จนกัดกินฐานะของรัฐบาลเหลือแต่กระดูก

แนวโน้มดังกล่าวทำให้สถาบันจัดอันดับเป็นห่วงฐานะการคลังของประเทศ การทำงบประมาณสมดุลไม่ได้ และการเร่งตัวของหนี้สาธารณะจนเลยกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ กระทบเครดิตของไทยให้ทรุดในที่สุด

หากเทียบในอดีต เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ฐานะการคลังไม่มีปัญหา ติดแค่ปัญหาการเมือง ที่ทำให้เครดิตประเทศยังไม่ขยับ

แต่วันนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแรงแผ่ว ฐานะการคลังมีความเสี่ยงจากโครงการรับจำนำที่เป็นฝีที่ใกล้แตกและแผ่เชื้อโรคไปทั่ว

ขณะที่ปัญหาการเมืองก็ปะทุร้อนแรงวิ่งเข้าหาจุดแตกหักอยู่ทุกวัน ทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่เป็นฟืนสุมไฟ ทำให้เครดิตของประเทศอาจถูกปรับลดลงได้ง่ายขึ้น…โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/227933/เครดิตประเทศติดหล่ม (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 13/06/2556 เวลา 03:49:41

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 ที่ผ่านมาจะขยายตัวได้ 6.40% ต่อปี ดีเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้แค่ 5.50% ต่อปี แต่ก็ไม่สามารถเป็นแรงดึงดูดให้สถาบันจัดอันดับชั้นนำต่างๆ ของโลกปรับเพิ่มเครดิตให้กับไทยได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ฟ้องว่าเศรษฐกิจไทยข้างนอกดูดี แต่ข้างในยังมีปัญหาและเต็มไปด้วยความเสี่ยง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจปี 2555 ขยายตัวได้ดี เพราะฐานการขยายตัวเศรษฐกิจปี 2554 อยู่ในระดับต่ำมาก 0.10% ต่อปีเท่านั้น เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2555 สูง มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากการอัดฉีดเงินผ่านโครงการประชานิยมจำนวน มากหลายแสนล้านบาทผ่านโครงการต่างๆ ทั้งรถคันแรก บ้านหลังแรก จำนำข้าว เป็นเหมือนการโด๊ปยาให้เศรษฐกิจโตขึ้นมา แต่ไม่ได้เติบโตจากพื้นฐานที่แท้จริง เพราะหากไปดูแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย ปี 2555 ด้านการส่งออก ที่ขยายตัวได้เพียง 4% จากที่ประมาณการไว้ 15% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เมื่อไส้ในเศรษฐกิจของไทยยังอ่อนยวบ แม้ภายนอกจะดูเติบโตได้ดี ทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยไม่ถูกปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามเดินสายล็อบบี้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ ถือให้ปรับเพิ่มเครดิตให้ไทยแต่ก็ไม่เป็นผล ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับเครดิตประกอบด้วย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้เครดิตไทยอยู่ที่ Baa1 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ให้เครดิตไทยที่ BBB+ และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ให้เครดิตไทยอยู่ที่ BBB+ ในส่วนของฟิทช์นั้นได้ปรับเครดิตของไทยเพิ่มขึ้นจาก BBB เป็น BBB+ เมื่อต้นปี ซึ่งดูผิวเผินแล้วเหมือนเครดิตของไทยได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูเทียบกับสถาบันจัดอันดับอื่นๆ แล้ว จะเห็นว่าการปรับขึ้นของฟิทช์เป็นการปรับเครดิตของไทยให้มาอยู่ในระดับเดียว กับมูดี้ส์และเอสแอนด์พีเท่านั้น อันดับเครดิตประเทศของไทยนั้นถือว่าต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งอยู่ถึง 2 ขั้น หากย้อนหลังไปตั้งแต่ไทยจ้างสถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยตั้งแต่ปี 2530 เครดิตของไทยถูกจัดอยู่ที่ A แต่หลังจากวิกฤตปี 2540 เครดิตของไทยถูกปรับลดลงต่ำจนเกือบเป็นประเทศที่ไม่น่าลงทุน หรือได้เครดิตต่ำกว่า B แต่โชคดีที่ยังรักษาเครดิตได้ และปรับเพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ในระดับ BBB+ ได้ในหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของหลายรัฐบาลที่จะพยายามทำให้เครดิตของไทยกลับไปอยู่ที่ A เหมือนก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งยังไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะเหลือเพื่อแค่ปรับขึ้นแค่หนึ่งระดับเท่านั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเครดิตของไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาติดหล่มอยู่ กับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเชื่อว่ายังมีความขัดแย้งรุนแรงทำให้การ เมืองยังมีความอ่อนไหว และส่งผลต่อการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ยิ่งในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาภายหลังเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลทำให้เกิดภาระการคลังกองโต อย่างโครงการรับจำนำข้าว กำลังเป็นจุดตายเศรษฐกิจและจุดสลบของเครดิตประเทศ หากเป็นเช่นนี้เครดิตของไทยนอกจากไม่สามารถขึ้นไปอยู่ที่ระดับ A ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงกว่าที่เป็นอยู่ ปัจจุบัน นั่นหมายถึงต้นทุนทางการเงินของไทยที่เพิ่มขึ้น หากพิจารณาเศรษฐกิจไทยเองก็พบว่า มีปัญหาเรื่องการขยายตัวตั้งแต่เริ่มปี 2556 เพราะการขยายตัวไตรมาสแรกทำได้ 5.30% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีโตไม่ถึง 54.505.50% ตามที่ตั้งไว้ โดยเหลือ 4.205.20% ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้เครดิตของประเทศเปราะบางมากขึ้น ที่สำคัญปัญหาการคลังที่ถูกเตือนจากมูดี้ส์ ในโครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท จะเป็นภาระงบประมาณจนทำให้ทำงบสมดุลไม่ได้ตามเป้าในปี 2560 และพอกหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จนหนีไม่พ้นกระทบกับเครดิตของประเทศในที่สุด เสียงเตือนจากมูดี้ส์ทำให้รัฐบาลถึงกับนั่งไม่ติด ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ต่างพยายามชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง แต่กลับทำให้สถานการณ์เครดิตของประเทศเลวร้ายลงไปอีก เพราะถึงตอนนี้กลับไม่มีใครชี้แจงได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากโครงการที่ แท้จริงเป็นเท่าไร แม้แต่นักวิเคราะห์ต่างประเทศยังออกมาระบุ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเสียไปแล้ว ถึงจะยังไม่ถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตของประเทศก็ตาม สัญญาณร้ายของอันดับเครดิตของไทยที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว ยังอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เครดิตของประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงจากนโยบาย ของรัฐบาล หากย้อนกลับไปดูในอดีต ตั้งแต่เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 เครดิตของไทยก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ หรือจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ปี 2540 เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจและทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านบาท เครดิตของไทยก็ยังไม่ถูกลด แต่นโยบายรับจำนำข้าวที่ผลขาดทุนยังไม่เป็นทางการเบื้องต้น 2.6 แสนล้านบาท เขย่าเครดิตของไทยให้ทรุดลงได้ เพราะสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมองว่า เป็นโครงการปลายเปิดไม่มีที่สิ้นสุดของโครงการ จะสร้างภาระการคลังและความเสียหายให้กับประเทศไม่มีวันจบเช่นกัน โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ดำเนินการมาไม่ถึง 2 ปี ใช้เงินไปแล้ว 6.6 แสนล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะใช้เงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท มีข้าวค้างสต๊อกอีกกว่า 1618 ล้านตันข้าวสาร ที่ยิ่งระบายขายออกได้ช้ายิ่งขาดทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า การระบายข้าวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี นั้น หมายความว่าการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี ยิ่งทำให้ข้าวเสื่อมสภาพขายได้ราคาน้อยลงเท่านั้น ขณะที่ นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่เกาะติดข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ออกมาระบุว่า การระบายข้าวสารของรัฐบาลได้ตันละ 1 หมื่นบาท น้อยกว่าราคาจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ทำให้ขาดทุนจำนวนมโหฬาร ที่น่าเป็นห่วงกว่าผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นทุกนาที ทุกวัน คือ การรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ฤดูกาลผลิตปี 2556/2557 และข้าวนาปรังปี 2557 รัฐบาลจะใช้เงินจากไหน หากการระบายข้าวของรัฐบาลยังโคม่า การรับจำนำสูงกว่าราคาตลาดเกือบเท่าตัว ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่ารัฐบาลหนีไม่พ้นต้องกู้เงินมาเพิ่ม หากเป็นเช่นนั้นทำให้แนวโน้มการใช้เงินกู้ในโครงการรับจำนำของ รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นกว่า 1 ล้านล้านบาท เท่ากับหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีภาระ ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงถึงปีละ 67 หมื่นล้านบาท จนกัดกินฐานะของรัฐบาลเหลือแต่กระดูก แนวโน้มดังกล่าวทำให้สถาบันจัดอันดับเป็นห่วงฐานะการคลังของประเทศ การทำงบประมาณสมดุลไม่ได้ และการเร่งตัวของหนี้สาธารณะจนเลยกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ กระทบเครดิตของไทยให้ทรุดในที่สุด หากเทียบในอดีต เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ฐานะการคลังไม่มีปัญหา ติดแค่ปัญหาการเมือง ที่ทำให้เครดิตประเทศยังไม่ขยับ แต่วันนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแรงแผ่ว ฐานะการคลังมีความเสี่ยงจากโครงการรับจำนำที่เป็นฝีที่ใกล้แตกและแผ่เชื้อโรคไปทั่ว ขณะที่ปัญหาการเมืองก็ปะทุร้อนแรงวิ่งเข้าหาจุดแตกหักอยู่ทุกวัน ทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่เป็นฟืนสุมไฟ ทำให้เครดิตของประเทศอาจถูกปรับลดลงได้ง่ายขึ้น…โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/227933/เครดิตประเทศติดหล่ม

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...