7-Eleven กับ Makro (1)

แสดงความคิดเห็น

ร้านสะดวกซื้อ 7-11

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด http//:viratts.wordpress.com

เรื่อง ราว 7-Eleven กับ Makro มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ของซีพี ทั้งจุดเริ่มต้น ความผันแปร ลงหลักปักฐานมาจนถึงยุคหลอมรวมผนึกพลังครั้งใหญ่ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทศวรรษแรก

"บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยที่ประกอบธุรกิจหลักด้านค้าปลีกประเภทร้านค้า สะดวกซื้อในประเทศไทย ภายใต้เครื่องหมายการค้า "7-Eleven" โดยบริษัทได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc.สหรัฐอเมริกา และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532" ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นครั้งแรกของธุรกิจค้าปลีกของซีพี (จาก http://www.cpall.co.th )

ใน ช่วงนั้นถือเป็นช่วงทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์ของซีพี ในยุคทศวรรษแรกของผู้นำคนใหม่-ธนินท์ เจียรวนนท์ (เขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการในปี 2522) ด้วยการบุกเบิกธุรกิจทั้งในประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่

จาก นั้นซีพีขยายตัวครั้งใหญ่ ด้วยยุทธศาสตร์การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาค เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ภูมิภาคเอเชียเป็นตลาดเกิดใหม่ที่กำลังเติบโตในสาย ตาของนักลงทุนตะวันตก ซีพีเริ่มต้นนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นไต้หวัน (2530) และฮ่องกง (2531) นับเป็นจังหวะที่มาพร้อมกับโอกาสอย่างมากมายในประเทศไทย การร่วมทุนกับหุ้นส่วนระดับโลก เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ในปีเดียวกันที่ตั้งต้นธุรกิจ 7-Eleven และ Makro ซีพีก็ได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วยการร่วมทุนกับ Solvay (Belgium)

ปี 2532 เครือซีพีปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อตอบสนองแผนการขยายตัวครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน ธนินท์ เจียรวนนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร ถือกันว่าเขากลายเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง เพียงปีเดียวต่อจากนั้น ซีพีทุ่มทุนครั้งใหญ่สู่ธุรกิจใหม่ ด้วยความคาดหวังอย่างสูง--ร่วมทุนกับ Bell Atlantic ธุรกิจยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ เริ่มต้นธุรกิจสื่อสาร

ส่วน การร่วมทุนกับ SHV Holdings แห่งเนเธอร์แลนด์ การดำเนินไปอย่างราบเรียบ พร้อม ๆ กับการเริ่มเครือข่ายร้าน 7-Eleven ดูเผิน ๆ ทั้งสองธุรกิจแตกต่างกัน แต่มีบางอย่างร่วมกัน ว่ากันว่าเป็นยุทธศาสตร์คู่ขนานของธุรกิจใหม่

โดย Makro มีบทบาทอย่างน่าสนใจในฐานะธุรกิจประเภท Hypermarket รายแรกของเมืองไทย ในเวลาต่อมาไม่นาน สยามแม็คโครเข้าตลาดหุ้นไทย (ปี 2537) ในช่วงตลาดหุ้นบูม ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการระดมทุน ในทันที ซีพีได้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ของตัวเองขึ้นมา

ห้าง โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 ถือว่าเป็นธุรกิจในรูปแบบ Hypermarket เช่นเดียวกัน นั่นคือจุดเริ่มต้นของประวัติเครือข่ายร้าน Tesco Lotus ผู้นำตลาด Hypermarket ในประเทศไทยปัจจุบัน

ทศวรรษที่สอง--ครึ่งแรก เผชิญวิกฤตการณ์ "เนื่อง จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ "เทสโก้ โลตัส" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มเทสโก้ ประเทศอังกฤษ กับกลุ่มซีพี ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เทสโก้ โลตัส ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้วยเงินลงทุนเพื่อการก่อสร้างและดำเนินธุรกิจมากกว่า 100,000 ล้านบาท" ข้อมูลของ Tesco Lotus กล่าวถึงจุดเริ่มต้นเข้ามาเมืองไทยของเครือข่าย Hypermarket ของสหราชอาณาจักร--Tesco

( http://www.tescolotus.com ) เป็นที่เข้าใจว่าเวลานั้น ซีพีได้ตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ที่ถืออยู่ในโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ให้กับ Tesco UK

ท่าม กลางวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่ ซีพีต้องปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจครั้งสำคัญอีกครั้งที่แตกต่างจากเมื่อทศวรรษ ก่อน ด้วยความพยายามรักษาธุรกิจสำคัญไว้ โดยเฉพาะสื่อสาร และธุรกิจดั้งเดิมด้านอาหาร โดยจำเป็นต้องออกจากธุรกิจที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง นอกจากขายหุ้นโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แล้วจำต้องขายหุ้นส่วนใหญ่ในสยามแม็คโครออกไปให้ SHV Holdings ด้วย

--ครึ่งหลัง โอกาสใหม่ ขณะ ที่การปรับโครงสร้างธุรกิจหลักดำเนินไป---ยุทธศาสตร์ของธุรกิจอาหาร (ซีพีเอฟ) ชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปี 2545 หนึ่ง-ขยายเครือข่ายไปต่างประเทศ ด้วยการจัดรวมโครงสร้างธุรกิจเดิมของกลุ่มซีพีในต่างประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายการผลิต และการตลาดให้กว้างขึ้นอีก จากจีนแผ่นดินใหญ่ ตุรกี อินเดีย รัสเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา สอง-การผลิตสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น พร้อมกับการสร้างแบรนด์ และสร้างเครือข่ายการตลาด

ว่า กันว่าซีพีให้ความสำคัญกับธุรกิจสื่อสารเป็นพิเศษ แม้ยามวิกฤตก็แสวงหาโอกาสเข้าซื้อกิจการเพื่อควบรวมกิจการเคเบิลทีวี (2540) เข้าซื้อใบอนุญาตสื่อสารไร้สาย และร่วมทุนกับ Orange S.A. UK เริ่มต้นธุรกิจสื่อสารไร้สาย (2544) ปี 2547 ภาพยุทธศาสตร์ธุรกิจสื่อสาร (True) กระจ่างขึ้น เมื่อผู้ร่วมทุนต่างชาติถอนตัว และปรับโครงสร้างหนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารครบวงจรอย่างแท้จริง

เมื่อซีพีกลับมามอง 7-Eleven อีกครั้ง ภาพใหม่และโอกาสใหม่ปรากฏขึ้น ปี 2545 7-Eleven เปิดร้านครบ 2,000 สาขา ถือเป็นพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด จากทศวรรษแรก 7-Eleven มีเครือข่ายร้านครบ 1,000 สาขา แต่จากนั้นใช้เวลาเพียงครึ่งเดียว (5 ปี) ก็เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ด้วยการร่วมมือกับบริษัท ปตท.เปิดให้บริการ 7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมัน เป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งของการเติบโตทั้งธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน

"ต่อ มาในวันที่ 20 สิงหาคม 2546 7-Eleven, Inc. ได้เข้าทำสัญญาให้ความยินยอม ซึ่งเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CPG) กับ 7-Eleven, Inc. โดย 7-Eleven, Inc. ได้ตกลงให้ความยินยอมต่อการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน รวมถึงการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ" (ขอบคุณ http://www.cpall.co.th ) นั่นคือแผนการใหม่ ตอบสนองการเติบโตก้าวกระโดดอีกขั้นของธุรกิจที่เริ่มต้นอย่างเงียบ ๆ แต่ไม่มีคู่แข่ง โดยใช้เวลาเติบโตถึง 15 ปี

แต่ จากนั้นไปกลายเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษแล้ว ทั้งจากซีพีและแวดวงธุรกิจ การเติบโตดำเนินต่อไป 7-Eleven ใช้เวลาอีกเพียง 3 ปี เพิ่มเครือข่ายร้านค้าจาก 2,000 ร้าน เป็น 3,000 ร้าน (2548)

ก้าวสู่ทศวรรษที่สาม ปี 2550 เป็นปีที่มีความหมายเป็นพิเศษสำหรับ 7-Eleven เริ่มต้นจากการเปลี่ยนชื่อบริษัท เดิมจาก--ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด เป็นซีพี ออลล์ ไม่เพียงเครือซีพีให้ความสำคัญ ยกฐานะเป็นกลุ่มธุรกิจหลักหนึ่งในสาม และธนินท์ เจียรวนนท์ ได้เข้ามาเป็นประธานบริษัทเท่านั้น หากเชื่อกันต่อไปว่า ยุทธศาสตร์ธุรกิจจะมีจินตนาการกว้างขวางกว่าเดิม ในปีเดียวกันนั้นเอง

ซีพี ออลล์ได้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถาบันฝึกอบรมบุคลากรเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ซึ่งมองว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก

ปี 2556 "ซีพี ออลล์" เตรียมพร้อมรับ AEC ซื้อกิจการ "แม็คโคร" หวังใช้เป็นช่องทางนำสินค้า SMEs และสินค้าเกษตรไทยลุยตลาดอาเซียน ( http://www.cpall.co.th 23 เมษายน 2556) หัวข้อข่าวจากต้นแหล่งที่สั่นสะเทือนสังคมธุรกิจ และจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญทางธุรกิจของซีพี

"ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่นประกาศความพร้อมเตรียมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือเออีซี ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร ผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตัวเองใน ประเทศไทย ด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ SMEs และสินค้าผลิตผลทางการเกษตรของไทย รวมถึงสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งและอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน" นี่คือคำอธิบายอย่างกะทัดรัดของซีพี ออลล์

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370761886 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 10/06/2556 เวลา 03:34:16 ดูภาพสไลด์โชว์ 7-Eleven กับ Makro (1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดย วิรัตน์ แสงทองคำ คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด http//:viratts.wordpress.com เรื่อง ราว 7-Eleven กับ Makro มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ของซีพี ทั้งจุดเริ่มต้น ความผันแปร ลงหลักปักฐานมาจนถึงยุคหลอมรวมผนึกพลังครั้งใหญ่ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทศวรรษแรก "บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยที่ประกอบธุรกิจหลักด้านค้าปลีกประเภทร้านค้า สะดวกซื้อในประเทศไทย ภายใต้เครื่องหมายการค้า "7-Eleven" โดยบริษัทได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc.สหรัฐอเมริกา และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532" ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นครั้งแรกของธุรกิจค้าปลีกของซีพี (จาก http://www.cpall.co.th ) ใน ช่วงนั้นถือเป็นช่วงทศวรรษแห่งความรุ่งโรจน์ของซีพี ในยุคทศวรรษแรกของผู้นำคนใหม่-ธนินท์ เจียรวนนท์ (เขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการในปี 2522) ด้วยการบุกเบิกธุรกิจทั้งในประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่ จาก นั้นซีพีขยายตัวครั้งใหญ่ ด้วยยุทธศาสตร์การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาค เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ภูมิภาคเอเชียเป็นตลาดเกิดใหม่ที่กำลังเติบโตในสาย ตาของนักลงทุนตะวันตก ซีพีเริ่มต้นนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นไต้หวัน (2530) และฮ่องกง (2531) นับเป็นจังหวะที่มาพร้อมกับโอกาสอย่างมากมายในประเทศไทย การร่วมทุนกับหุ้นส่วนระดับโลก เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ในปีเดียวกันที่ตั้งต้นธุรกิจ 7-Eleven และ Makro ซีพีก็ได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วยการร่วมทุนกับ Solvay (Belgium) ปี 2532 เครือซีพีปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อตอบสนองแผนการขยายตัวครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน ธนินท์ เจียรวนนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร ถือกันว่าเขากลายเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง เพียงปีเดียวต่อจากนั้น ซีพีทุ่มทุนครั้งใหญ่สู่ธุรกิจใหม่ ด้วยความคาดหวังอย่างสูง--ร่วมทุนกับ Bell Atlantic ธุรกิจยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ เริ่มต้นธุรกิจสื่อสาร ส่วน การร่วมทุนกับ SHV Holdings แห่งเนเธอร์แลนด์ การดำเนินไปอย่างราบเรียบ พร้อม ๆ กับการเริ่มเครือข่ายร้าน 7-Eleven ดูเผิน ๆ ทั้งสองธุรกิจแตกต่างกัน แต่มีบางอย่างร่วมกัน ว่ากันว่าเป็นยุทธศาสตร์คู่ขนานของธุรกิจใหม่ โดย Makro มีบทบาทอย่างน่าสนใจในฐานะธุรกิจประเภท Hypermarket รายแรกของเมืองไทย ในเวลาต่อมาไม่นาน สยามแม็คโครเข้าตลาดหุ้นไทย (ปี 2537) ในช่วงตลาดหุ้นบูม ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการระดมทุน ในทันที ซีพีได้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ของตัวเองขึ้นมา ห้าง โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 ถือว่าเป็นธุรกิจในรูปแบบ Hypermarket เช่นเดียวกัน นั่นคือจุดเริ่มต้นของประวัติเครือข่ายร้าน Tesco Lotus ผู้นำตลาด Hypermarket ในประเทศไทยปัจจุบัน ทศวรรษที่สอง--ครึ่งแรก เผชิญวิกฤตการณ์ "เนื่อง จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ "เทสโก้ โลตัส" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มเทสโก้ ประเทศอังกฤษ กับกลุ่มซีพี ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เทสโก้ โลตัส ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้วยเงินลงทุนเพื่อการก่อสร้างและดำเนินธุรกิจมากกว่า 100,000 ล้านบาท" ข้อมูลของ Tesco Lotus กล่าวถึงจุดเริ่มต้นเข้ามาเมืองไทยของเครือข่าย Hypermarket ของสหราชอาณาจักร--Tesco ( http://www.tescolotus.com) เป็นที่เข้าใจว่าเวลานั้น ซีพีได้ตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ที่ถืออยู่ในโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ให้กับ Tesco UK ท่าม กลางวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่ ซีพีต้องปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจครั้งสำคัญอีกครั้งที่แตกต่างจากเมื่อทศวรรษ ก่อน ด้วยความพยายามรักษาธุรกิจสำคัญไว้ โดยเฉพาะสื่อสาร และธุรกิจดั้งเดิมด้านอาหาร โดยจำเป็นต้องออกจากธุรกิจที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง นอกจากขายหุ้นโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แล้วจำต้องขายหุ้นส่วนใหญ่ในสยามแม็คโครออกไปให้ SHV Holdings ด้วย --ครึ่งหลัง โอกาสใหม่ ขณะ ที่การปรับโครงสร้างธุรกิจหลักดำเนินไป---ยุทธศาสตร์ของธุรกิจอาหาร (ซีพีเอฟ) ชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปี 2545 หนึ่ง-ขยายเครือข่ายไปต่างประเทศ ด้วยการจัดรวมโครงสร้างธุรกิจเดิมของกลุ่มซีพีในต่างประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายการผลิต และการตลาดให้กว้างขึ้นอีก จากจีนแผ่นดินใหญ่ ตุรกี อินเดีย รัสเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา สอง-การผลิตสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น พร้อมกับการสร้างแบรนด์ และสร้างเครือข่ายการตลาด ว่า กันว่าซีพีให้ความสำคัญกับธุรกิจสื่อสารเป็นพิเศษ แม้ยามวิกฤตก็แสวงหาโอกาสเข้าซื้อกิจการเพื่อควบรวมกิจการเคเบิลทีวี (2540) เข้าซื้อใบอนุญาตสื่อสารไร้สาย และร่วมทุนกับ Orange S.A. UK เริ่มต้นธุรกิจสื่อสารไร้สาย (2544) ปี 2547 ภาพยุทธศาสตร์ธุรกิจสื่อสาร (True) กระจ่างขึ้น เมื่อผู้ร่วมทุนต่างชาติถอนตัว และปรับโครงสร้างหนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารครบวงจรอย่างแท้จริง เมื่อซีพีกลับมามอง 7-Eleven อีกครั้ง ภาพใหม่และโอกาสใหม่ปรากฏขึ้น ปี 2545 7-Eleven เปิดร้านครบ 2,000 สาขา ถือเป็นพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด จากทศวรรษแรก 7-Eleven มีเครือข่ายร้านครบ 1,000 สาขา แต่จากนั้นใช้เวลาเพียงครึ่งเดียว (5 ปี) ก็เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ด้วยการร่วมมือกับบริษัท ปตท.เปิดให้บริการ 7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมัน เป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งของการเติบโตทั้งธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน "ต่อ มาในวันที่ 20 สิงหาคม 2546 7-Eleven, Inc. ได้เข้าทำสัญญาให้ความยินยอม ซึ่งเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทกับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CPG) กับ 7-Eleven, Inc. โดย 7-Eleven, Inc. ได้ตกลงให้ความยินยอมต่อการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน รวมถึงการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ" (ขอบคุณ http://www.cpall.co.th) นั่นคือแผนการใหม่ ตอบสนองการเติบโตก้าวกระโดดอีกขั้นของธุรกิจที่เริ่มต้นอย่างเงียบ ๆ แต่ไม่มีคู่แข่ง โดยใช้เวลาเติบโตถึง 15 ปี แต่ จากนั้นไปกลายเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษแล้ว ทั้งจากซีพีและแวดวงธุรกิจ การเติบโตดำเนินต่อไป 7-Eleven ใช้เวลาอีกเพียง 3 ปี เพิ่มเครือข่ายร้านค้าจาก 2,000 ร้าน เป็น 3,000 ร้าน (2548) ก้าวสู่ทศวรรษที่สาม ปี 2550 เป็นปีที่มีความหมายเป็นพิเศษสำหรับ 7-Eleven เริ่มต้นจากการเปลี่ยนชื่อบริษัท เดิมจาก--ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด เป็นซีพี ออลล์ ไม่เพียงเครือซีพีให้ความสำคัญ ยกฐานะเป็นกลุ่มธุรกิจหลักหนึ่งในสาม และธนินท์ เจียรวนนท์ ได้เข้ามาเป็นประธานบริษัทเท่านั้น หากเชื่อกันต่อไปว่า ยุทธศาสตร์ธุรกิจจะมีจินตนาการกว้างขวางกว่าเดิม ในปีเดียวกันนั้นเอง ซีพี ออลล์ได้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถาบันฝึกอบรมบุคลากรเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ซึ่งมองว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก ปี 2556 "ซีพี ออลล์" เตรียมพร้อมรับ AEC ซื้อกิจการ "แม็คโคร" หวังใช้เป็นช่องทางนำสินค้า SMEs และสินค้าเกษตรไทยลุยตลาดอาเซียน ( http://www.cpall.co.th 23 เมษายน 2556) หัวข้อข่าวจากต้นแหล่งที่สั่นสะเทือนสังคมธุรกิจ และจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญทางธุรกิจของซีพี "ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่นประกาศความพร้อมเตรียมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือเออีซี ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร ผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตัวเองใน ประเทศไทย ด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ SMEs และสินค้าผลิตผลทางการเกษตรของไทย รวมถึงสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งและอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน" นี่คือคำอธิบายอย่างกะทัดรัดของซีพี ออลล์ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370761886

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...