เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข

แสดงความคิดเห็น

โดย :รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คอลัมน์ "ปฏิรูปประเทศไทย แบบไหน อย่างไร"

ชื่อบทความนี้คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของผมที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ในที่นี้คือ เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศ

ที่ ต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และกำไรสูงสุดของผู้ผลิตและผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงแค่ระบบย่อย (Subsystem) ของระบบนิเวศ (Ecosystem) และเน้นความสำคัญและปกป้องรักษาทุนทางธรรมชาติ (Natural Capital) เช่นป่าไม้ ที่ดิน น้ำจืด แหล่งอาหารในน้ำ พลังงาน แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ของฟรีหรือมีเหลือเฟืออย่างที่เศรษฐศาสตร์แบบเก่าเข้าใจ เน้นการจัดสรรและกระจายทรัพยากรใหม่ อย่างเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่ และอย่างยั่งยืนอยู่ได้ยาวนาน การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง การมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม ซึ่งต่างจากคำว่าประสิทธิภาพเฉยๆ ที่กลายเป็นการมุ่งต้นทุนต่ำเพื่อกำไรมากของผู้ผลิตเอกชน

เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศก้าวหน้ากว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics) ที่ยังมองปัญหาแบบแยกส่วนและใช้การวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เพียงแต่นำเอาต้นทุนการที่ธุรกิจทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและสภาพแวดล้อมเกิด มลพิษมาคิดรวมไว้ในต้นทุนที่ผู้ผลิตผู้บริโภคต้องรับผิดชอบด้วย แม้นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะก้าวหน้าหรือเป็นนักปฏิรูปมากกว่านัก เศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีล้วน ๆ แต่พวกเขายังเชื่อในเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ประสิทธิภาพของกลไกตลาด และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ว่าสามารถเดินคู่กันไปได้กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้

นักเศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีหรือแนวกระแสหลัก (Mainstream) ที่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนักนิเวศวิทยาที่มองปัญหาแบบแยกส่วนมักจะมองว่าเรื่องมลพิษเป็นปัญหา ทางเทคนิคมากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเมืองและระบบนิเวศ พวกเขาเชื่อว่า ด้วยความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์ เราจะสามารถเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทดแทนทุนทางธรรมชาติที่ร่อยหรอไป ได้ ทำให้ทุนโดยรวมยังเพิ่มขึ้นได้ พวกเขามองโลกในแง่ดี (เกินจริง) ว่าถ้าธุรกิจเอกชนยอมลงทุนเรื่องการกำจัดมลพิษและการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะ ประหยัดพลังงาน, ประหยัดวัสดุเพิ่มขึ้นได้ เราก็ยังสามารถทำให้เศรษฐกิจของโลกเจริญเติบโตต่อไปได้

นักเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองต่างออกไปว่า ทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น (เครื่องจักร,เครื่องมือ ฯลฯ) ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนทุนธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ได้ พวกเขาวิเคราะห์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจโลกโดยรวมในวันนี้ได้เลยจุดคุ้มทุนทางสังคมไปแล้ว คือถ้าเราวัดผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมด้วยดัชนีชี้วัดสวัสดิการทาง สังคมหรือดัชนีความก้าวหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่วัดแค่มูลค่าการบริโภคสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น เราจะพบว่าผลตอบแทนทางสังคมในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันลดลงเหลือต่ำ กว่าผลเสียหายทางสังคมที่เกิดขึ้น

คำว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดในเชิงมูลค่าสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นภาพลวงตา เพราะถ้าเราวัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในแง่คุณภาพชีวิตและสังคม ประเทศและประชาชนจำนวนมากมีคุณภาพทางชีวิตและสังคมรวมทั้งความสุขความพอใจ ที่ลดลง

เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศคิดก้าวหน้าไปไกลถึงขนาดว่าจริงๆ แล้วเราต้องจำกัดขนาดเศรษฐกิจ ด้วยการลดปริมาณการผลิตการบริโภคโดยเฉพาะส่วนที่ฟุ่มเฟือยอย่างจริงจัง และออกแบบวิถีชีวิตการผลิตและการบริโภค การใช้ชีวิตแบบใหม่ จึงจะช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น

การจะพัฒนาสังคมให้เจริญในด้านคุณภาพชีวิต ความสันติสุขของมนุษย์ได้ เราจำเป็นต้องปกป้องดูแลธรรมชาติอย่างแข็งขัน ด้วยการลดอัตราการใช้ทุนทางธรรมชาติ (ลดปริมาณการผลิต, หาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ทุนทางธรรมชาติเท่าเดิม) และลดการบริโภคสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นที่พอเพียง เพื่อลดอัตราทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงอย่างจริงจัง เราจึงจะป้องกันมหันตภัยจากภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชนิดที่จะทำให้น้ำท่วมโลกบางส่วน ผลผลิตเกษตรเสียหาย การขาดแคลนอาหาร น้ำจืด และเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ได้

ปัญญาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุดมองว่า ตัวระบบทุนนิยมเองซึ่งเน้นประโยชน์/กำไรส่วนตัวของคนกลุ่มน้อย คือตัวการสำคัญในการทำลายระบบนิเวศของโลก เราไม่อาจพัฒนาทั้งทุนนิยม และระบบนิเวศที่ยั่งยืนพร้อมกันได้ ทางเลือกคือต้องพัฒนาระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ (Eco-Socialism) ที่เน้นการปกป้องและแบ่งปันทรัพยากรส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และอย่างฉลาดเท่านั้น เราจึงจะแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผล เพราะถ้าเราปล่อยให้ระบบทุนนิยมโลกเติบโตอย่างไม่ควบคุม วันหนึ่งโลกก็จะถอยกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อน (barbarism) ที่ผู้คนจะทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรกันเพื่อความอยู่รอดสั้นๆ ของคนที่มีอำนาจและรวยที่สุด ที่ถึงใครจะชนะมนุษย์ก็ไม่มีอนาคตที่ยั่งยืน

หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 11 บท 3 บทแรกชี้ว่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมและวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าสร้าง ปัญหาให้เราอย่างไร บทที่ 4-6 อธิบายแนวคิดทฤษฎี หลักการของเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศที่ก้าวไปไกลกว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเมือง บทที่ 7-11 กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการทำงานของขบวนการทางสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ระบบนิเวศในประเทศต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ ที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาระบบนิเวศได้จริงจัง มากกว่าแค่การรณรงค์จัดงานเรื่องรักสิ่งแวดล้อมแบบจุ๋มจิ๋มที่มักทำกันพอ เป็นพิธีกรรม เป็นการสร้างภาพ มากกว่าจะเกิดผลจริงจังต่อเนื่อง

หนังสือเล่มนี้ยังคัดสรรคำคมแสดงถึงภูมิปัญญาที่เข้าใจเรื่องระบบนิเวศ อย่างลึกซึ้งและงดงามของ ชีฟ ซีแอทเทิล ผู้นำชาวอเมริกันอินเดียน, เฟเดอริค เองเกลส์ และนักคิดคนอื่นไว้อีกด้วย

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/wittayakorn_c/20130408/498948/เศรษฐศาสตร์แนวใหม่-เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 8/04/2556 เวลา 03:08:12

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย :รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คอลัมน์ "ปฏิรูปประเทศไทย แบบไหน อย่างไร" ชื่อบทความนี้คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของผมที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ในที่นี้คือ เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศ ที่ ต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และกำไรสูงสุดของผู้ผลิตและผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงแค่ระบบย่อย (Subsystem) ของระบบนิเวศ (Ecosystem) และเน้นความสำคัญและปกป้องรักษาทุนทางธรรมชาติ (Natural Capital) เช่นป่าไม้ ที่ดิน น้ำจืด แหล่งอาหารในน้ำ พลังงาน แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ของฟรีหรือมีเหลือเฟืออย่างที่เศรษฐศาสตร์แบบเก่าเข้าใจ เน้นการจัดสรรและกระจายทรัพยากรใหม่ อย่างเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่ และอย่างยั่งยืนอยู่ได้ยาวนาน การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง การมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม ซึ่งต่างจากคำว่าประสิทธิภาพเฉยๆ ที่กลายเป็นการมุ่งต้นทุนต่ำเพื่อกำไรมากของผู้ผลิตเอกชน เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศก้าวหน้ากว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics) ที่ยังมองปัญหาแบบแยกส่วนและใช้การวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เพียงแต่นำเอาต้นทุนการที่ธุรกิจทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและสภาพแวดล้อมเกิด มลพิษมาคิดรวมไว้ในต้นทุนที่ผู้ผลิตผู้บริโภคต้องรับผิดชอบด้วย แม้นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะก้าวหน้าหรือเป็นนักปฏิรูปมากกว่านัก เศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีล้วน ๆ แต่พวกเขายังเชื่อในเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ประสิทธิภาพของกลไกตลาด และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ว่าสามารถเดินคู่กันไปได้กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ นักเศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีหรือแนวกระแสหลัก (Mainstream) ที่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนักนิเวศวิทยาที่มองปัญหาแบบแยกส่วนมักจะมองว่าเรื่องมลพิษเป็นปัญหา ทางเทคนิคมากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเมืองและระบบนิเวศ พวกเขาเชื่อว่า ด้วยความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์ เราจะสามารถเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทดแทนทุนทางธรรมชาติที่ร่อยหรอไป ได้ ทำให้ทุนโดยรวมยังเพิ่มขึ้นได้ พวกเขามองโลกในแง่ดี (เกินจริง) ว่าถ้าธุรกิจเอกชนยอมลงทุนเรื่องการกำจัดมลพิษและการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะ ประหยัดพลังงาน, ประหยัดวัสดุเพิ่มขึ้นได้ เราก็ยังสามารถทำให้เศรษฐกิจของโลกเจริญเติบโตต่อไปได้ นักเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองต่างออกไปว่า ทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น (เครื่องจักร,เครื่องมือ ฯลฯ) ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนทุนธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ได้ พวกเขาวิเคราะห์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจโลกโดยรวมในวันนี้ได้เลยจุดคุ้มทุนทางสังคมไปแล้ว คือถ้าเราวัดผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมด้วยดัชนีชี้วัดสวัสดิการทาง สังคมหรือดัชนีความก้าวหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่วัดแค่มูลค่าการบริโภคสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น เราจะพบว่าผลตอบแทนทางสังคมในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันลดลงเหลือต่ำ กว่าผลเสียหายทางสังคมที่เกิดขึ้น คำว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดในเชิงมูลค่าสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นภาพลวงตา เพราะถ้าเราวัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในแง่คุณภาพชีวิตและสังคม ประเทศและประชาชนจำนวนมากมีคุณภาพทางชีวิตและสังคมรวมทั้งความสุขความพอใจ ที่ลดลง เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศคิดก้าวหน้าไปไกลถึงขนาดว่าจริงๆ แล้วเราต้องจำกัดขนาดเศรษฐกิจ ด้วยการลดปริมาณการผลิตการบริโภคโดยเฉพาะส่วนที่ฟุ่มเฟือยอย่างจริงจัง และออกแบบวิถีชีวิตการผลิตและการบริโภค การใช้ชีวิตแบบใหม่ จึงจะช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น การจะพัฒนาสังคมให้เจริญในด้านคุณภาพชีวิต ความสันติสุขของมนุษย์ได้ เราจำเป็นต้องปกป้องดูแลธรรมชาติอย่างแข็งขัน ด้วยการลดอัตราการใช้ทุนทางธรรมชาติ (ลดปริมาณการผลิต, หาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ทุนทางธรรมชาติเท่าเดิม) และลดการบริโภคสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นที่พอเพียง เพื่อลดอัตราทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงอย่างจริงจัง เราจึงจะป้องกันมหันตภัยจากภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชนิดที่จะทำให้น้ำท่วมโลกบางส่วน ผลผลิตเกษตรเสียหาย การขาดแคลนอาหาร น้ำจืด และเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ได้ ปัญญาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุดมองว่า ตัวระบบทุนนิยมเองซึ่งเน้นประโยชน์/กำไรส่วนตัวของคนกลุ่มน้อย คือตัวการสำคัญในการทำลายระบบนิเวศของโลก เราไม่อาจพัฒนาทั้งทุนนิยม และระบบนิเวศที่ยั่งยืนพร้อมกันได้ ทางเลือกคือต้องพัฒนาระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ (Eco-Socialism) ที่เน้นการปกป้องและแบ่งปันทรัพยากรส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และอย่างฉลาดเท่านั้น เราจึงจะแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผล เพราะถ้าเราปล่อยให้ระบบทุนนิยมโลกเติบโตอย่างไม่ควบคุม วันหนึ่งโลกก็จะถอยกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อน (barbarism) ที่ผู้คนจะทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรกันเพื่อความอยู่รอดสั้นๆ ของคนที่มีอำนาจและรวยที่สุด ที่ถึงใครจะชนะมนุษย์ก็ไม่มีอนาคตที่ยั่งยืน หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 11 บท 3 บทแรกชี้ว่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมและวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าสร้าง ปัญหาให้เราอย่างไร บทที่ 4-6 อธิบายแนวคิดทฤษฎี หลักการของเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศที่ก้าวไปไกลกว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเมือง บทที่ 7-11 กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการทำงานของขบวนการทางสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ระบบนิเวศในประเทศต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ ที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาระบบนิเวศได้จริงจัง มากกว่าแค่การรณรงค์จัดงานเรื่องรักสิ่งแวดล้อมแบบจุ๋มจิ๋มที่มักทำกันพอ เป็นพิธีกรรม เป็นการสร้างภาพ มากกว่าจะเกิดผลจริงจังต่อเนื่อง หนังสือเล่มนี้ยังคัดสรรคำคมแสดงถึงภูมิปัญญาที่เข้าใจเรื่องระบบนิเวศ อย่างลึกซึ้งและงดงามของ ชีฟ ซีแอทเทิล ผู้นำชาวอเมริกันอินเดียน, เฟเดอริค เองเกลส์ และนักคิดคนอื่นไว้อีกด้วย ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/wittayakorn_c/20130408/498948/เศรษฐศาสตร์แนวใหม่-เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...