จริยทางธุรกิจ (1)

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373211

สยามธุรกิจออนไลน์ [ ฉบับที่ 1382 ประจำวันที่ 2 มี.ค. 2556 ถึง 5 มี.ค. 2556 ]

ท่านผู้อ่านเคยตั้งคำถามไหมคะว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี หรือเกิดมาพร้อมกับความชั่ว ท่านอาจารย์บุญมา เตชะวนิช ผู้อำนวยการ สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ได้เปรียบเทียบทัศนคติต่อธรรมชาติมนุษย์ ไว้ในการอบรม “จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ” สำหรับผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่น 38 ไว้ว่ามีอยู่ 2 แนวความคิด คือ

ถ้าเปรียบมนุษย์เป็นน้ำที่อยู่บนยอดเขา แนวความคิดที่หนึ่งเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเหมือนน้ำบริสุทธิ์ ไหลผ่านอะไรลงมา น้ำบนพื้นราบก็จะมีลักษณะเป็นอย่างนั้น

ส่วนแนวความคิดที่สองเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเป็นน้ำที่ไม่สะอาดไหลลงจากยอดเขา หิน กรวด ทราย ที่น้ำนั้นไหลผ่าน จะช่วยกลั่นกรองให้น้ำมีความใสสะอาดมากขึ้น (ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาด้วยความบริสุทธิ์ใช่หรือไม่คะ แต่ผลการวิจัย พบว่า เด็กๆ จะสามารถโกหกได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 2-4 ปี โดยไม่ต้องมีใครมาสอน และจริงๆ แล้วทักษะการโกหกถือเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กในวัยดังกล่าว)

ไม่ว่าธรรมชาติของมนุษย์จะเป็นอย่างไร จะดีหรือจะชั่ว จริยธรรม กฎหมาย และแบบแผนความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของผู้มีอาชีพนั้นๆ (Code of conduct) มีความจำเป็นอย่างมากในการทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข

ในกรณีที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี เราต้องการเกราะในการปกป้องคนดีและป้องปรามคนไม่ดีไม่ให้ล้ำเส้นมาทำร้ายคนอื่น ถ้ามนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับความชั่ว จริยธรรม กฎหมาย และแบบแผนความประพฤติ ก็จะเป็นสิ่งที่บอกแนวทางแก่คนเหล่านี้ ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ อะไรควรทำ และไม่ควรทำ

ดิฉันขออนุญาตเปรียบเทียบธรรมชาติของมนุษย์กับธรรมชาติขององค์กรธุรกิจค่ะ ท่านผู้อ่านมองว่าองค์กรธุรกิจว่ามีธรรมชาติเป็นแบบไหนคะ เกิดมาเพื่อมุ่งหากำไรใส่ตัว หรือว่าเกิดมาเพื่อแบ่งปัน

คงจะปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า เดิมเราเชื่อว่า “จริย” หรือลักษณะอันเป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจ คือการแสวงหากำไรสูงสุด (maximize profit) ยิ่งได้กำไรมาก ยิ่งเก่ง ซื้อมาถูกๆ ขายแพงๆ ยิ่งดี แต่ “จริย” ดังกล่าวมันอยู่ไม่ได้แล้วในสังคมปัจจุบัน คนในสังคมเขาไม่ยอมรับ องค์กรธุรกิจในปัจจุบันมีอีกหนึ่งหน้าที่ คือการดูแลสังคม หรือที่เราเรียก กันว่าการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)

ที่มา: สยามธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 3/03/2556 เวลา 02:44:06

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373211 สยามธุรกิจออนไลน์ ท่านผู้อ่านเคยตั้งคำถามไหมคะว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี หรือเกิดมาพร้อมกับความชั่ว ท่านอาจารย์บุญมา เตชะวนิช ผู้อำนวยการ สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ได้เปรียบเทียบทัศนคติต่อธรรมชาติมนุษย์ ไว้ในการอบรม “จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ” สำหรับผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่น 38 ไว้ว่ามีอยู่ 2 แนวความคิด คือ ถ้าเปรียบมนุษย์เป็นน้ำที่อยู่บนยอดเขา แนวความคิดที่หนึ่งเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเหมือนน้ำบริสุทธิ์ ไหลผ่านอะไรลงมา น้ำบนพื้นราบก็จะมีลักษณะเป็นอย่างนั้น ส่วนแนวความคิดที่สองเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเป็นน้ำที่ไม่สะอาดไหลลงจากยอดเขา หิน กรวด ทราย ที่น้ำนั้นไหลผ่าน จะช่วยกลั่นกรองให้น้ำมีความใสสะอาดมากขึ้น (ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาด้วยความบริสุทธิ์ใช่หรือไม่คะ แต่ผลการวิจัย พบว่า เด็กๆ จะสามารถโกหกได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 2-4 ปี โดยไม่ต้องมีใครมาสอน และจริงๆ แล้วทักษะการโกหกถือเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กในวัยดังกล่าว) ไม่ว่าธรรมชาติของมนุษย์จะเป็นอย่างไร จะดีหรือจะชั่ว จริยธรรม กฎหมาย และแบบแผนความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของผู้มีอาชีพนั้นๆ (Code of conduct) มีความจำเป็นอย่างมากในการทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ในกรณีที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี เราต้องการเกราะในการปกป้องคนดีและป้องปรามคนไม่ดีไม่ให้ล้ำเส้นมาทำร้ายคนอื่น ถ้ามนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับความชั่ว จริยธรรม กฎหมาย และแบบแผนความประพฤติ ก็จะเป็นสิ่งที่บอกแนวทางแก่คนเหล่านี้ ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ อะไรควรทำ และไม่ควรทำ ดิฉันขออนุญาตเปรียบเทียบธรรมชาติของมนุษย์กับธรรมชาติขององค์กรธุรกิจค่ะ ท่านผู้อ่านมองว่าองค์กรธุรกิจว่ามีธรรมชาติเป็นแบบไหนคะ เกิดมาเพื่อมุ่งหากำไรใส่ตัว หรือว่าเกิดมาเพื่อแบ่งปัน คงจะปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า เดิมเราเชื่อว่า “จริย” หรือลักษณะอันเป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจ คือการแสวงหากำไรสูงสุด (maximize profit) ยิ่งได้กำไรมาก ยิ่งเก่ง ซื้อมาถูกๆ ขายแพงๆ ยิ่งดี แต่ “จริย” ดังกล่าวมันอยู่ไม่ได้แล้วในสังคมปัจจุบัน คนในสังคมเขาไม่ยอมรับ องค์กรธุรกิจในปัจจุบันมีอีกหนึ่งหน้าที่ คือการดูแลสังคม หรือที่เราเรียก กันว่าการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...