ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน?

แสดงความคิดเห็น

โดย : ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 25 ก.พ. 56

ขอบคุณ... http://goo.gl/hHLLr (ขนาดไฟล์: 0 )

โดยปรกติแล้วผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายและให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในระยะหลังนั้น หัวข้อที่ผมได้รับเชิญให้ไปพูดบ่อยครั้งมากที่สุด

แทบไม่เว้นแต่ละวันคือประเด็นที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกกล่าวถึงมากขึ้น แต่การสำรวจที่ผ่านมากลับพบว่า คนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งอาจทำให้คนไทยพลาดโอกาสหรือขาดความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น

ผมจึงคิดว่าเป็นการดีที่จะเขียนบทความเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้และช่วยสร้างความตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ซึ่งในบทความจะตอบคำถามที่ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน? สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีหลายประการ เช่น

1) เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว คือ การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 และการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีการลงทุนจะทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 เช่น การขนส่งทางอากาศ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค

ที่สำคัญคาดหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศอาเซียนลดลง โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระหว่างประเทศพัฒนามากขึ้น การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของแรงงานออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

2) โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

การเปิดเสรีให้สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานทักษะสูงสามารถเคลื่อนย้ายภายในภูมิภาคได้อย่างเสรีมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านรุนแรงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศและภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

โดยภาคเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง โคเนื้อ โคนม ชา กาแฟ หอม กระเทียม ไหมดิบ สินค้าประมง และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขณะที่ภาคบริการ เช่น การเงิน ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ค้าปลีก-ค้าส่ง และโลจิสติกส์ ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีศักยภาพในด้านบริการสูงที่สุดในอาเซียน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์) อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบ (เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์) และ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจำเป็น (เช่น แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร อุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง) ส่วนภาคบริการที่จะได้ประโยชน์ คือ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพและความงาม บริการธุรกิจ และการก่อสร้างและออกแบบ เป็นต้น

3) กฎระเบียบและมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น

การรวมตัวเป็นประชาคมจะทำให้ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องปรับปรุงกฎระเบียบ แนวปฏิบัติและมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานของสินค้าและการให้บริการ มาตรฐานด้านคุณวุฒิวิชาชีพ กฎระเบียบและพิธีการทางศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง กระบวนการจัดตั้งและจดทะเบียนธุรกิจ การคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิทธิผู้บริโภค บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

4) การกระจายความเจริญมากขึ้น

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างประเทศ เช่น ถนนและทางรถไฟ จะทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ และการกระจายความเจริญสู่พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนและแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวพื้นที่ ได้แก่

(1) ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างเมืองเมาะละแหม่ง เมียนม่าร์ ผ่านแม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สะหวันนะเขต ลาว และสิ้นสุดที่เมืองดานัง เวียดนาม

(2) ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างนครคุนหมิง จีน ผ่านเชียงรายที่อำเภอแม่สายและเชียงของ และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ

(3) ระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังกัมพูชาและเวียดนามมีหลายเส้นทางย่อย โดยมีจุดผ่านแดนระหว่างไทยและกัมพูชา 2 แห่ง คือ อรัญประเทศ/ปอยเปต และตราด/เกาะกง เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย กรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง

5) สังคมมีความหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น

ประชาคมอาเซียนจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมภายในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากรชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการผ่านแดนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมระหว่างประเทศที่จะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น การเปิดเสรีบริการด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมและองค์ความรู้ จะทำให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาในประเทศมากขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น เป็นต้น

การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทั้งเชิงบวกหรือลบต่อประเทศไทย ซึ่งเราอาจมองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามก็ได้ ทั้งนี้การพัฒนาความรู้และการเตรียมความพร้อมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับโอกาสและป้องกันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น หากนับตั้งแต่ตอนนี้ยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปีจึงจะถึงเส้นตายที่จะบรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งถือว่ามากเพียงพอและยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้น

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 25/02/2556 เวลา 05:00:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 25 ก.พ. 56 ขอบคุณ... http://goo.gl/hHLLr โดยปรกติแล้วผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายและให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในระยะหลังนั้น หัวข้อที่ผมได้รับเชิญให้ไปพูดบ่อยครั้งมากที่สุด แทบไม่เว้นแต่ละวันคือประเด็นที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกกล่าวถึงมากขึ้น แต่การสำรวจที่ผ่านมากลับพบว่า คนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งอาจทำให้คนไทยพลาดโอกาสหรือขาดความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ผมจึงคิดว่าเป็นการดีที่จะเขียนบทความเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้และช่วยสร้างความตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ซึ่งในบทความจะตอบคำถามที่ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน? สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีหลายประการ เช่น 1) เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว คือ การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 และการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีการลงทุนจะทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 เช่น การขนส่งทางอากาศ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค ที่สำคัญคาดหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศอาเซียนลดลง โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระหว่างประเทศพัฒนามากขึ้น การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของแรงงานออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น 2) โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การเปิดเสรีให้สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานทักษะสูงสามารถเคลื่อนย้ายภายในภูมิภาคได้อย่างเสรีมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านรุนแรงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศและภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยภาคเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง โคเนื้อ โคนม ชา กาแฟ หอม กระเทียม ไหมดิบ สินค้าประมง และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขณะที่ภาคบริการ เช่น การเงิน ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ค้าปลีก-ค้าส่ง และโลจิสติกส์ ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีศักยภาพในด้านบริการสูงที่สุดในอาเซียน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์) อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบ (เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์) และ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจำเป็น (เช่น แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร อุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง) ส่วนภาคบริการที่จะได้ประโยชน์ คือ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพและความงาม บริการธุรกิจ และการก่อสร้างและออกแบบ เป็นต้น 3) กฎระเบียบและมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น การรวมตัวเป็นประชาคมจะทำให้ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องปรับปรุงกฎระเบียบ แนวปฏิบัติและมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานของสินค้าและการให้บริการ มาตรฐานด้านคุณวุฒิวิชาชีพ กฎระเบียบและพิธีการทางศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง กระบวนการจัดตั้งและจดทะเบียนธุรกิจ การคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิทธิผู้บริโภค บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น 4) การกระจายความเจริญมากขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างประเทศ เช่น ถนนและทางรถไฟ จะทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ และการกระจายความเจริญสู่พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนและแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวพื้นที่ ได้แก่ (1) ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างเมืองเมาะละแหม่ง เมียนม่าร์ ผ่านแม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สะหวันนะเขต ลาว และสิ้นสุดที่เมืองดานัง เวียดนาม (2) ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างนครคุนหมิง จีน ผ่านเชียงรายที่อำเภอแม่สายและเชียงของ และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ (3) ระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังกัมพูชาและเวียดนามมีหลายเส้นทางย่อย โดยมีจุดผ่านแดนระหว่างไทยและกัมพูชา 2 แห่ง คือ อรัญประเทศ/ปอยเปต และตราด/เกาะกง เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย กรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง 5) สังคมมีความหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ประชาคมอาเซียนจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมภายในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากรชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการผ่านแดนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมระหว่างประเทศที่จะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น การเปิดเสรีบริการด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมและองค์ความรู้ จะทำให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาในประเทศมากขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น เป็นต้น การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทั้งเชิงบวกหรือลบต่อประเทศไทย ซึ่งเราอาจมองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามก็ได้ ทั้งนี้การพัฒนาความรู้และการเตรียมความพร้อมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับโอกาสและป้องกันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น หากนับตั้งแต่ตอนนี้ยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปีจึงจะถึงเส้นตายที่จะบรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งถือว่ามากเพียงพอและยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...