ม.ธุรกิจบัณฑิตย์สำรวจค่าแรง 300 บ.ทั่วปท. เสี่ยงตกงาน 1.2 ล้านคน

แสดงความคิดเห็น

ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์เผยผลสำรวจแรงงาน ในพื้นที่ 70 จังหวัด ที่มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทในต้นปี 2556 พบว่า มีแรงงานที่เสี่ยงต่อการตกงาน 1.2 ล้านคน คาดการณ์ส่งผลต่ออัตราว่างงานทั้งประเทศสูงถึง 1.2% โดยจะกระทบโครงสร้างการผลิตในท้องถิ่น หวั่นลุกลามทำลายสังคมภาคครัวเรือน

นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผย ผลสำรวจความเห็นถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยการสอบถามประชาชนใน 70 จังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงในปีหน้า พบว่าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ จ.นราธิวาส จ.ตาก จ.ลำพูน จ.สระแก้ว จ.ราชบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี จ.ลพบุรี จ.หนองบัวลำภู และ จ.อ่างทอง

ทั้งนี้ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันในทุกพื้นที่จะส่งผลเสียในระยะยาวต่อระบบ เศรษฐกิจของไทยอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้จะไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจในพื้นที่ อื่นๆ ได้เพราะต้องแบกรับต้นทุนต่อหน่วยการผลิตที่สูงกว่าจึงจำเป็นต้องขายสินค้า ที่แพงกว่า ทำให้โรงงานนอกพื้นที่นำสินค้ามาตีตลาดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานที่มีศักยภาพจะไปรวมในพื้นที่เดียวกันหมด เพราะพื้นที่ที่มีโรงงานรายใหญ่ที่มีศักยภาพจะคัดเลือกคนที่เก่งๆ แล้วบีบคนไม่เก่งให้ออก ส่วนคนที่ไม่เก่งก็ต้องไปทำงานในพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน

นอกจากนี้ ผลกระทบการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท จะทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหามาตรการอื่นๆ ในการลดต้นทุน และการลดการใช้พนักงานลงด้วยวิธีการเลือกเฉพาะพนักงานที่มีความสามารถ ดังนั้น ภายใน 18 เดือนหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศวันละ 300 บาท อาจมีแรงงานที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกงาน หรือเสี่ยงต่อการไม่มีงานทำ 1.2 ล้านคน เช่น กลุ่มที่กำลังทำงานอยู่แต่มีศักยภาพน้อย, กลุ่มที่กำลังจะหางาน, กลุ่มที่รอสัมภาษณ์งาน เป็นต้น โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ ได้มาจากข้อเสนอของธนาคารโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและความพร้อมของ พื้นที่ รวมถึงระดับค่าแรงเฉลี่ยในพื้นที่ การวิเคราะห์ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำในต่างประเทศพบว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้เกิดการเลิกจ้างในระดับที่แตกต่างกัน ยิ่งค่าแรงขั้นต่ำใหม่มีค่าใกล้เคียงกับค่าแรงเฉลี่ยของพื้นที่ ผลด้านการเลิกจ้างก็จะยิ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าหากค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจนเกินกว่า 40% ของค่าแรงเฉลี่ยจะเกิดปัญหาเลิกจ้างอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการเลิกจ้างแรงงานที่เป็นเยาวชนและแรงงานของธุรกิจเอสเอ็มอี โดยค่าเฉลี่ยการขึ้นค่าแรงในปีหน้าส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยเกิน 40% เกือบทุกจังหวัด และมากที่สุดก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 80% ซึ่งเป็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่อันตรายมาก

ปัจจุบันการว่างงานของประชากรไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนภาวะที่แท้จริงของตลาดแรงงาน โดยปกติแล้วการมีการวิเคราะห์อัตราการว่างงานโดยใช้นิยาม ผู้ว่างงาน + ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะตกงาน + ผู้ที่มีชั่วโมงทำงานต่ำ จะทำให้ผู้ว่างงานของไทยสูงถึง 5.9% หรือคิดเป็น 10 เท่าของอัตราการว่างงานตามนิยามปกติที่รัฐบาลใช้ให้นิยามผู้มีงานทำ คือผู้ที่มีรายได้จากการทำงาน 1 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นค่านิยามที่ต่ำมาก โดยผลกระทบในระยะยาว คาดว่าภายใน 2 ปีอัตราการว่างงานตามเกณฑ์การวัดของไทยจะสูงจาก 0.6% ในเดือน ก.ค. ปี 2555 เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2% และถ้าคิดอัตราการว่างงานตามหลักสากลที่รวมกลุ่มผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำ จะสูงถึง 15% ซึ่งเป็นตัวเลขที่อันตรายมาก อย่างไรก็ตาม การไม่มีงานในส่วนของเมืองไทยคงจะไม่ลำบากเหมือนกับต่างประเทศ เพราะในบ้านเราก็สามารถที่จะเข้าช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ได้ หรือช่วยเพื่อนในการขายของ ซึ่งกลุ่มนี้ในเมืองไทยถือว่าไม่ตกงาน

“ประสบการณ์จากในกลุ่มละตินอเมริกา อเมริกา อังกฤษ และยุโรปแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด แล้วจะมีปัญหาการเลิกจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ การชะลอการจ้างงานเพิ่ม และโอกาสได้งานทำของเยาวชนก็น้อยลง ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานที่ต้องการทำงานแต่หางาน ทำไม่ได้ หากคุณภาพชีวิตต่ำลงในอนาคตก็จะเป็นภาระทางการคลังของรัฐ

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 26 ก.ย.55
วันที่โพสต์: 1/10/2555 เวลา 11:07:43

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์เผยผลสำรวจแรงงาน ในพื้นที่ 70 จังหวัด ที่มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทในต้นปี 2556 พบว่า มีแรงงานที่เสี่ยงต่อการตกงาน 1.2 ล้านคน คาดการณ์ส่งผลต่ออัตราว่างงานทั้งประเทศสูงถึง 1.2% โดยจะกระทบโครงสร้างการผลิตในท้องถิ่น หวั่นลุกลามทำลายสังคมภาคครัวเรือน นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผย ผลสำรวจความเห็นถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยการสอบถามประชาชนใน 70 จังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงในปีหน้า พบว่าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ จ.นราธิวาส จ.ตาก จ.ลำพูน จ.สระแก้ว จ.ราชบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี จ.ลพบุรี จ.หนองบัวลำภู และ จ.อ่างทอง ทั้งนี้ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันในทุกพื้นที่จะส่งผลเสียในระยะยาวต่อระบบ เศรษฐกิจของไทยอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้จะไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจในพื้นที่ อื่นๆ ได้เพราะต้องแบกรับต้นทุนต่อหน่วยการผลิตที่สูงกว่าจึงจำเป็นต้องขายสินค้า ที่แพงกว่า ทำให้โรงงานนอกพื้นที่นำสินค้ามาตีตลาดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานที่มีศักยภาพจะไปรวมในพื้นที่เดียวกันหมด เพราะพื้นที่ที่มีโรงงานรายใหญ่ที่มีศักยภาพจะคัดเลือกคนที่เก่งๆ แล้วบีบคนไม่เก่งให้ออก ส่วนคนที่ไม่เก่งก็ต้องไปทำงานในพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ ผลกระทบการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท จะทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหามาตรการอื่นๆ ในการลดต้นทุน และการลดการใช้พนักงานลงด้วยวิธีการเลือกเฉพาะพนักงานที่มีความสามารถ ดังนั้น ภายใน 18 เดือนหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศวันละ 300 บาท อาจมีแรงงานที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกงาน หรือเสี่ยงต่อการไม่มีงานทำ 1.2 ล้านคน เช่น กลุ่มที่กำลังทำงานอยู่แต่มีศักยภาพน้อย, กลุ่มที่กำลังจะหางาน, กลุ่มที่รอสัมภาษณ์งาน เป็นต้น โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ ได้มาจากข้อเสนอของธนาคารโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและความพร้อมของ พื้นที่ รวมถึงระดับค่าแรงเฉลี่ยในพื้นที่ การวิเคราะห์ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำในต่างประเทศพบว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้เกิดการเลิกจ้างในระดับที่แตกต่างกัน ยิ่งค่าแรงขั้นต่ำใหม่มีค่าใกล้เคียงกับค่าแรงเฉลี่ยของพื้นที่ ผลด้านการเลิกจ้างก็จะยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าหากค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจนเกินกว่า 40% ของค่าแรงเฉลี่ยจะเกิดปัญหาเลิกจ้างอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการเลิกจ้างแรงงานที่เป็นเยาวชนและแรงงานของธุรกิจเอสเอ็มอี โดยค่าเฉลี่ยการขึ้นค่าแรงในปีหน้าส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยเกิน 40% เกือบทุกจังหวัด และมากที่สุดก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 80% ซึ่งเป็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่อันตรายมาก ปัจจุบันการว่างงานของประชากรไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนภาวะที่แท้จริงของตลาดแรงงาน โดยปกติแล้วการมีการวิเคราะห์อัตราการว่างงานโดยใช้นิยาม ผู้ว่างงาน + ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะตกงาน + ผู้ที่มีชั่วโมงทำงานต่ำ จะทำให้ผู้ว่างงานของไทยสูงถึง 5.9% หรือคิดเป็น 10 เท่าของอัตราการว่างงานตามนิยามปกติที่รัฐบาลใช้ให้นิยามผู้มีงานทำ คือผู้ที่มีรายได้จากการทำงาน 1 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นค่านิยามที่ต่ำมาก โดยผลกระทบในระยะยาว คาดว่าภายใน 2 ปีอัตราการว่างงานตามเกณฑ์การวัดของไทยจะสูงจาก 0.6% ในเดือน ก.ค. ปี 2555 เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2% และถ้าคิดอัตราการว่างงานตามหลักสากลที่รวมกลุ่มผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำ จะสูงถึง 15% ซึ่งเป็นตัวเลขที่อันตรายมาก อย่างไรก็ตาม การไม่มีงานในส่วนของเมืองไทยคงจะไม่ลำบากเหมือนกับต่างประเทศ เพราะในบ้านเราก็สามารถที่จะเข้าช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ได้ หรือช่วยเพื่อนในการขายของ ซึ่งกลุ่มนี้ในเมืองไทยถือว่าไม่ตกงาน “ประสบการณ์จากในกลุ่มละตินอเมริกา อเมริกา อังกฤษ และยุโรปแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด แล้วจะมีปัญหาการเลิกจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ การชะลอการจ้างงานเพิ่ม และโอกาสได้งานทำของเยาวชนก็น้อยลง ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานที่ต้องการทำงานแต่หางาน ทำไม่ได้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...